ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุเมืองพัทยาสร้างสุข รุ่น 2
ตัวชี้วัด (ตัวชี้วัดที่สอดคล้อง SDGs) :
เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและให้อำนาจของผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน (Achieve gender equality and empower all women and girls)
เป้าหมายที่ 17 เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน
ที่มาและความสำคัญ : บุคลากรของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ที่มีความรู้และเข้าใจเรื่องกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา ร่วมออกแบบหลักสูตรและเป็นกระบวนกร (Facilitator) จัดกระบวนการเรียนรู้โครงการพัฒนา “โรงเรียนผู้สูงอายุเมืองพัทยาสร้างสุข รุ่น 2” แก่ผู้สูงอายุในเขตเมืองพัทยาผ่านแนวคิดสุขภาพองค์รวม (Holistic health) ขององค์การอนามัยโลก, พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 (กาย จิต สังคม และปัญญา) และความสุข 5 มิติ (สุขสบาย สุขสนุก สุขสว่าง สุขสง่า และสุขสงบ) ของกรมสุขภาพจิต โดยใช้กระบวนการเรียนรู้และเครื่องมือการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การเจริญสติ สุนทรียสนทนา การสะท้อนและถอดบทเรียนตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง เน้นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (Experienced and participatory learning) ซึ่งช่วยสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทุกมิติอย่างเป็นองค์รวมสอดคล้องกับบริบทของผู้คนและพื้นที่ สร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุร่วมพัฒนาเมืองพัทยา และร่วมพัฒนาผู้สูงอายุเมืองพัทยาให้เป็น Smart Senior ตามนโยบาย Better Pattaya และพัฒนาเมืองพัทยาให้เป็นเมืองต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุ
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
การอบรมและเรียนรู้เชิงปฏิบัติการตามโครงการพัฒนา โรงเรียนผู้สูงอายุเมืองพัทยาสร้างสุข รุ่น 2 เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative education) หรือการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative learning) ไม่ใช้ lecture-based แต่เน้น activity-based ด้วย active and participatory learning หัวข้อการเรียนรู้เรื่องสุขภาพ (Health) แบบองค์รวมที่ไม่ได้มุ่งเพียงสุขภาพร่างกาย แต่ครอบคลุมสุขภาพมิติอื่นประกอบด้วยสุขภาพจิต สุขภาพสังคม และสุขภาพปัญญา เนื้อหาการเรียนรู้จะหลากหลายและน่าสนใจ ทั้งยังเหมาะสมกับคนสูงวัยและสถานการณ์ปัจจุบันทั้งเรื่องการออกกำลังกาย อาหารการกิน การฟังอย่างลึกซึ้งและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีม สุขภาพจิตและการปรับตัว หัวข้อการเรียนรู้ประกอบด้วย
การจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 เดือนๆ ละ 4 ครั้งๆ 5 ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
- [รวมพล คนสูงพลัง] สัมพันธภาพ พลังกลุ่ม และชุมชนแห่งกัลยาณมิตร 1-2
- [พฤฒา ปัญญาญาณ] สุนทรียสนทนาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพชุมชนการเรียนรู้, อาหารและโภชนาการกับภูมิปัญญาคนสูงวัย, ละครเพื่อการเรียนรู้เบื้องต้นสำหรับคนสูงวัย, สูงวัยใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม, การเผชิญความตายอย่างสงบ พินัยกรรมชีวิต และสมุดเบาใจ
- [สุขใจ วัยเก๋า] จิตรศิลป์, ดุริยางคศิลป์ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมของผู้สูงอายุ และสูงวัย “อึด ฮึด สู้”
- กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมและภาวะพฤฒพลังของสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
- [สูงวัย ไฮเทค] ศาสตร์และศิลป์แห่งการสื่อสารและนำเสนอด้วยแอปพลิเคชันทันสมัย, ไอทีร่วมสมัยและภัยไซเบอร์สำหรับคนสูงวัย
- [สูงวัย ไกลโรค] ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวอย่างปลอดภัยห่างไกลโรค, สุขกาย สบายใจ ด้วยกิจกรรมทางกายและกิจกรรมบำบัด
LINK รูปภาพประกอบ :
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมและการพัฒนาการกีฬาและการออกกำลังกาย
ตัวชี้วัด (ตัวชี้วัดที่สอดคล้อง SDGs) :
เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและให้อำนาจของผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน (Achieve gender equality and empower all women and girls)
เป้าหมายที่ 17 เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน
ที่มาและความสำคัญ : บุคลากรวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือทางวิชาการการเป็นวิทยากรให้ความรู้การฝึกอบรม และจัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเมืองพัทยา ดังนี้
1. อบรม พัฒนาข้อมูลด้านการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวม การกีฬาและการออกกำลังกายงานพัฒนาสุขภาพองค์รวมของชุมชนและสังคม ข้อมูลสุขภาพองค์รวมของประชน องค์ความรู้การส่งเสริมและป้องกันโรคบางชนิด เช่น โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ด้วยกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย โภชนาการ จิตวิทยา รวมถึงศาสตร์และศิลป์อื่นที่เหมาะสมด้วยวิธีการและกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้เกิดระบบสุขภาพองค์รวม ครบวงจร และบูรณาการ
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ การฝึกอบรม การฝึกทักษะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้เกิดการนำข้อมูลและองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ระหว่างอาจารย์ บุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ นักศึกษา นักเรียน และประชาชนระหว่างเมืองพัทยา มหาวิทยาลัย รวมถึงส่วนงานอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยผ่านโครงการและ/หรือกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลาย
3. สนับสนุนกิจกรรม/โครงการ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยาเพื่อสร้างทางเลือกของเด็กนักเรียนให้มีโอกาสเข้าสู่อาชีพในฝัน
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
โครงการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมและการพัฒนาการกีฬาและการออกกำลังกาย เป็นความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการพัฒนาระบบสุขภาพครบวงจร ระหว่างภาคีเครือข่าย “For Better” เมืองพัทยา ร่วมมือกับภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมมือทางด้านวิชาการ ระหว่างภาคีเครือข่าย “Better Pattaya" ซึ่งมีบุคลากรที่พร้อมจะร่วมกันพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสุขภาพองค์รวมครอบคลุมประชาชน ตกลงร่วมมือและสนับสนุนกันและกัน ทั้งด้านนโยบาย การบริหารจัดการ พัฒนาระบบการศึกษาเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรู้สนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากระบบสุขภาพครบวงจร โดยบูรณาการกับแหล่งองค์ความรู้ต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาไปสู่การสร้างเมืองแห่งสุขภาวะ ซึ่งมีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ในการสร้างเมืองแห่งสุขภาวะ ส่งเสริมสุขภาพองค์รวม เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน และพัฒนาไปสู่เมืองท่องเที่ยวแห่งสุขภาพสำหรับทุกคนภายใต้การดำเนินโครงการต่างๆ
LINK รูปภาพประกอบ :