ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างเทศบาลเมืองหัวหินกับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล

แบบฟอร์มสรุปโครงการที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด SDGs

ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อกิจกรรม/โครงการ : ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างเทศบาลเมืองหัวหินกับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ตัวชี้วัด (ตัวชี้วัดที่สอดคล้อง SDGs) :  

ตัวชี้วัดที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (GOOD HEALTH AND WELL-BEING)

ตัวชี้วัดที่ 4 การศึกษาเท่าเทียม (QUALITY EDUCATION)

ตัวชี้วัดที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ (REDUCED INEQUALITIES)

ตัวชี้วัดที่ 11 เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างยั่งยืน (SUSTAINABLE CITIES AND COMMUNITIES)

ตัวชี้วัดที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (RESPONSIBLE CONSUMPTION AND PRODUCTION)

ตัวชี้วัดที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (PEACE AND JUSTICE)

ตัวชี้วัดที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (PARTNERSHIPS FOR THE GOALS)

 

ที่มาและความสำคัญ : 

หัวหินให้เป็นเมืองตากอากาศที่สำคัญของโลก และเป็นเมืองต้นทุนที่สำคัญของประเทศไทย จากการที่หัวหินเป็นเมืองจุดหมายปลายทางเรื่องการท่องเที่ยวทำให้เมืองหัวหินมีการเติบโตของเมืองอย่างก้าวกระโดด จากที่เมื่อ 15 ปีที่แล้วเมืองหัวหินมีประชากรไม่ถึง 25,000 คน แต่ปัจจุบันกลับมีประชากรถึง 62,068 คน และมีประชากรแฝงกว่า 200,000 คน ส่งผลให้ปัญหาการจราจร ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาทางสังคมอื่นๆ เริ่มเป็นปัญหาท้าทายโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันเมืองหัวหินกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ เห็นได้จากจำนวนผู้สูงอายุที่มีชื่อในทะเบียนบ้านจำนวน 9,026 คน คิดเป็นร้อยละ 15 โดยถ้านับรวมผู้สูงอายุที่เป็นประชากรแฝงที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลอีก 3,000 คน หัวหินก็จะมีประชากรผู้อายุคิดเป็นร้อยละ 19 ของจำนวนประชากรรวมทั้งหมด ด้วยเหตุผลดังกล่าวเทศบาลเมืองหัวหินจึงได้จัดตั้งเครือข่ายการพัฒนาหัวหินสร้างสุขขึ้น เพื่อเตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ได้ออกแบบจัดตั้งเป็นศูนย์หัวหินสร้างสุข ซึ่งภาระงานของศูนย์ ประกอบด้วย 10 กลุ่มกิจกรรม ดังนี้ กลุ่มกิจกรรมแรก งานสวัสดิการผู้สูงอายุโดยชุมชน กลุ่มกิจกรรมที่สอง งานกายภาพบำบัดและการฟื้นฟู กลุ่มกิจกรรมที่สาม งานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมบำบัด กลุ่มกิจกรรมที่สี่ งานกิจกรรมบำบัด กลุ่มกิจกรรมที่ห้า งานโภชนาการสำหรับผู้อายุ กลุ่มกิจกรรมที่หก งานนวัตกรรมการจัดการผู้สูงอายุ กลุ่มกิจกรรมที่เจ็ด งานจัดการเครือข่ายผู้สูงอายุ กลุ่มกิจกรรมที่แปด งานอุปกรณ์อำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ กลุ่มกิจกรรมที่เก้า งาน Day Care และกลุ่มกิจกรรมสุดท้าย ศูนย์ฝึกอาชีพและศึกษาดูงาน ด้วยศักยภาพของบุคลากรวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ที่ "มีใจ" และเห็นคุณประโยชน์ของการร่วมทำงานพัฒนาท้องถิ่น และ "มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์" ด้านต่างๆ เพื่อร่วมสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการสังคมผู้สูงอายุในเมืองหัวหิน วิทยาลัยฯ ได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับเทศบาลหัวหิน เพื่อสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการทั้งด้านวิทยาการ องค์ความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาหัวหินสร้างสุข พัฒนาทักษะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดการสังคมผู้สูงอายุ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การฝึกงานของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล

 

รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :

  1. 1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ "สัมพันธภาพ พลังกลุ่ม และความสุข" เพื่อเสริมสร้างพลังกลุ่ม ภาวะการนำ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการรับฟังกัน ความสุข และทำให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ ชุมชนกัลยาณมิตร กิจกรรมนี้เป็นปฐมบทหรือบาทฐานของการนำไปสู่การสร้างเครือข่ายในชุมชนที่เข้มแข็งขึ้น และช่วยต่อยอดการทำงานที่ลงลึกเรื่องอื่นๆ ต่อไป 2. การอบรมเชิงปฏิบัติการ "ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวให้ปลอดภัยและสนุกด้วยการออกกำลังกาย" จัดให้ครูและผู้นำการออกกำลังกายทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่เพื่อขยายมุมมองและทบทวนความรู้ทางวิชาการสมัยใหม่เรื่องกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย 3. การอบรมเชิงปฏิบัติการ "กิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุและ อสม." เพื่อสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมและป้องกันโรคสำหรับผู้สูงอายุ และคาดหวังให้ อสม. นำไปเผยแพร่และใช้ทำงาน อสม. ต่อไป 4. การอบรมเชิงปฏิบัติการ "ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการป้องกันโรคติดเเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19)" อสม. และนักเรียน ซึ่งโครงการนี้จัดขึ้นช่วงโรคโควิด 19 ระบาด โครงการเชื่อมกลุ่มคน 2 กลุ่มคือคนแก่และเด็ก (ลูกหลาน) เข้าด้วยกันผ่านการใช้เทคโนโลยี คือให้ อสม. ได้เรียนรู้เนื้อหาบางอย่าง เช่น โรคโควิด 19 และกิจกรรมทางกายผ่านการใช้เทคโนโลยี Smart phone แล้วให้ อสม. ไปทำกิจกรรมถ่ายทอดเรื่องพวกนี้กับนักเรียนและช่วยเก็บข้อมูล จนได้ข้อมูลทำงานวิจัยได้ระดับหนึ่ง 5. การอบรมเชิงปฏิบัติการ "การรวบรวมข้อมูลโรคโควิด 19 กับพฤติกรรมของประชาชน เช่น ผู้กครอง เด็กนักเรียนช่วงโรคโควิด 19 ระบาด" กิจกรรมนี้ใช้กระบวนการละครและศิลปะเป็นเครื่องมือให้ครอบครัว (ผู้ปกครอง เด็กนักเรียน) และครู มาพบกัน และแปลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคโควิด 19 ร่วมกัน ซึ่งข้อมูลจากกิจกรรมสามารถนำไปใช้ต่อยอดและออกแบบกิจกรรมอื่นๆ ต่อไป กิจกรรมส่วนใหญ่ของโครงการนี้ จัดทำด้วยแนวคิด "สุขภาพองค์รวม" (Holistic health) กล่าวคือไม่ได้มองคำ สุขภาพเป็นเพียงไม่เป็นโรค ต้องออกกำลังกาย ต้องได้กินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ดังนั้นโครงการไม่ได้เริ่มดำเนินการจากการไปอบรมหรือให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายทันที แต่เริ่มจากการต้องเรียนรู้และเข้าใจคนในพื้นที่ก่อนว่าเขาเป็นอย่างไร ต้องการอะไร มีปัญหาอะไร อยากให้เราช่วยอะไรยังขาดอะไร ดังนั้น โครงการจึงมอง สุขภาพมิติอื่น ๆ คือสังคม จิตใจ ปัญญา ของคนในพื้นที่ด้วย เครื่องมือที่ใช้จึงหลากหลาย เช่น การฟังอย่างลึกซึ้ง (Dialogue) ดนตรี ศิลปะ เกม กระบวนการกลุ่ม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้อบรมรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพอีกชิ้นหนึ่งและเป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยเครื่องมือและวิธีการมองสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม โครงการจึงสามารถเตรียมความพร้อมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้แล้วคือชาวบ้านมีพลัง มีแรงบัลดาลใจ เห็นโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่จะพัฒนา กล้าหาญมากขึ้น ฟังกันมากขึ้น เข้าอกเข้าใจกันมากขึ้น พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตัวเองและชุมชนแล้ว โครงการจึงค่อยๆ หยอดกิจกรรมที่เป็นเนื้อหาที่ต้องการ เช่น กิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)ฯ นอกจากนี้ โครงการและชาวบ้านยังจ่อยอดและขยายผลมุมมองเรื่องสุขภาพไปถึงเรื่องสุขภาพมิติต่างๆ อย่างเป็นองค์รวม คือเรื่องสุขภาพองค์รวมกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเกี่ยวข้องกันมาก โครงการช่วยสนับสนุนให้ชาวบ้านกลุ่มต่างๆ ดำเนินงานและทำกิจกรรมต่างๆ จนมีส่วนร่วมให้เทศบาลเมืองหัวหินได้รับรางวัล และชาวบ้านได้รับรางวัลผู้นำชุมชนและ/หรือ อสม. ดีเด่นระดับชาติ รางวัลล่าสุดของเทศบาลเมืองหัวหินคือ 2023 Princess Environmental Award ซึ่งรับพระราชทานรางวัลเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2566 ที่กรุงเทพมหานคร

     

    LINK :