โรงเรียนผู้สูงอายุเมืองพัทยาสร้างสุข รุ่น 1

แบบฟอร์มสรุปโครงการที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด SDGs

ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โรงเรียนผู้สูงอายุเมืองพัทยาสร้างสุข รุ่น 1

ตัวชี้วัด (ตัวชี้วัดที่สอดคล้อง SDGs) :  

ตัวชี้วัดที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (GOOD HEALTH AND WELL-BEING)

ตัวชี้วัดที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ (GENDER EQUALITY)

ตัวชี้วัดที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (PARTNERSHIPS FOR THE GOALS)

 

ที่มาและความสำคัญ : 

ผู้บริหารเมืองพัทยาให้ความสำคัญเรื่องการสร้างเสริมและพัฒนาภาวะพฤฒพลังและสุขภาพองค์รวมของผู้สูงอายุด้วยแนวคิด Integrated Care for Older People (ICOPE) หรือการบูรณาการการดูแลผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลก ซึ่งแนวคิดนี้เน้นการป้องกัน (Prevention) และสร้างเสริม (Promotion) “การดูแลสุขภาพตนเองของคนทุกคน” กอปรกับต้องการให้เกิดการมีส่วนร่วมการพัฒนาเมืองทุกด้านจากภาคส่วนต่างๆ ด้วยเหตุนี้ หัวหน้าโครงการฯ ซึ่งทำงานร่วมกับ ดร.ศิวัช บุญเกิด รองปลัดเมืองพัทยา (อดีตรองปลัดเทศบาลเมืองหัวหิน) จึงปรึกษาหารือผู้บริหารและกำหนดกรอบแนวคิดการทำโครงการด้วยการพยายามรวมภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ (เมืองพัทยา) ภาคประชาชน (ชาวบ้าน ผู้สูงอายุ อสม.) ภาควิชาการ (มหาวิทยาลัยมหิดล) และภาคเอกชน (บริษัท ห้างร้านต่างๆ) เข้ามาร่วมกันสร้างสรรค์เมืองพัทยาผ่านความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือจตุภาคี ทั้งนี้ หัวหน้าโครงการฯ และคณะทำงานส่วนหนึ่งมีประสบการณ์การทำงานกับ ดร.ศิวัช บุญเกิด และพอจะเข้าใจบริบทเมืองและท้องถิ่นระดับหนึ่งแล้ว จึงร่วมกันออกแบบหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเมืองพัทยาสร้างสุข รุ่น 1 ซึ่งผ่านการฟังเสียงความต้องการของผู้เกี่ยวข้องด้วยกระบวนการกลุ่ม (เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ไปทำ workshop ร่วมออกแบบหลักสูตรและเรียนรู้รูปแบบกิจกรรมและกระบวนการด้วยกระบวนการทางจิตตปัญญาศึกษา) แล้วจัดเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุเมืองพัทยาสร้างสุข รุ่น 1 ต่อไป ในภาควิชาการ วิทยากรกระบวนการ (Facilitator) โดยบุคลากรของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ซึ่งมีความรู้และเข้าใจเรื่องกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่เน้นการบรรยาย แต่ใช้กระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา ร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมตามหัวข้อต่างๆ และชาวบ้าน ได้แก่ ผู้นำกลุ่มกิจกรรมต่างๆ อสม. ชาวบ้านทั่วไป ในเมืองพัทยา จะได้ร่วมทำงานใหม่ๆ ร่วมกัน เรียนรู้และเติมโตภายในร่วมกัน เข้าใจบริบทของสังคมและชุมชนผู้สูงอายุมากขึ้น เข้าใจบริบทการพัฒนาท้องถิ่นโดยเฉพาะเมืองพัทยาซึ่งมีโจทย์ปัญหาที่ซับซ้อนและท้าทายมากมาย รวมถึงการเป็นวิทยากรกระบวนการมาจากหลากหลายสาขาและหน่วยงานก็ได้รู้จักกันมากขึ้น เรียนรู้ข้ามศาสตร์กันมากขึ้น โลกทัศน์กว้างขวาง โครงการนี้สามารถตอบโจทย์และตัวชี้วัดทั้งระดับส่วนงานและมหาวิทยาลัยเรื่องการสร้างสรรค์งานรับใช้สังคมได้

 

รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :

  1. การอบรม อสม. โครงการสร้างเสริมสุขภาพ

การอบรมเชิงปฏิบัติการ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative education) หรือการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative learning) ไม่ใช้ lecture-based แต่เน้น activity-based ด้วย active and participatory learning หัวข้อการเรียนรู้เรื่องสุขภาพ (Health) แบบองค์รวมที่ไม่ได้มุ่งเพียงสุขภาพร่างกาย แต่ครอบคลุมสุขภาพมิติอื่นประกอบด้วยสุขภาพจิต สุขภาพสังคม และสุขภาพปัญญา ทั้งนี้ แต่ละหัวข้อจึงไม่ได้เรียนรู้แบบแยกส่วนหรือผูกขาดเฉพาะเรื่อง แต่เรียนรู้ผ่านแนวคิด 3 ก. คือ เกม กิจกรรม กระบวนการ เช่น หัวข้ออาหารและโภชนาการจะเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการกินการอยู่ของคนในพื้นที่ เรียนรู้ผ่านกิจกรรมให้ผู้สูงอายุรวมกลุ่มทำอาหารท้องถิ่นตามเงื่อนไขด้านโภชนาการ แล้วนำอาหารมาจัดแสดงเพื่อให้คณะวิทยากรกระบวนการและผู้บริหารได้ชิมกัน แล้ววิทยากรกระบวนการเชื่อมโยงเรื่องอาหารการกินกับหลักการด้านโภชนาการเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) หัวข้อการเรียนรู้ ยกระดับและเชื่อมโยงการเรียนรู้เรื่องสุขภาพ (แนวคิด สุขภาพคือสภาวะแห่งความสุข = ความสุข) จึงประกอบด้วยเนื้อหาการเรียนรู้ที่หลากหลายและน่าสนใจ ทั้งยังเหมาะสมกับคนสูงวัยและสถานการณ์ปัจจุบันทั้งเรื่องการออกกำลังกาย อาหารการกิน การฟังอย่างลึกซึ้งและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีม สุขภาพจิตและการปรับตัว การใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปสร้างสรรค์และทำสติ๊กเกอร์ ภัยไซเบอร์ การกรอก google form กิจกรรมบำบัด ดนตรี จิตรศิลป์ รวมถึงการทำพินัยกรรมชีวิต (Living will) และการเตรียมตัวตายอย่างสงบเบื้องต้น (Palliative care) หัวข้อการเรียนรู้ประกอบด้วย

  1. การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุ

  2. สุนทรียสนทนาเพื่อการสื่อสารสุขภาพและการสร้างชุมชนการเรียนรู้

  3. สูงวัยให้ขยับ: เคลื่อนไหวร่างกายให้สนุกและปลอดภัยด้วยกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย

  4. สูงวัยไฮเทค: ไซเบอร์ในชีวิตประจำวันเพื่อสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม

  5. สุขใจ วัยเก๋า 1: ดนตรีและศิลปะบำบัดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม

  6. โภชนาการบูรณาการ: อาหารกาย อาหารใจ ภูมิปัญญาคนสูงวัย

  7. สูงวัย ใจสู้: ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตเพื่อสร้างเสริมพลังกายใจ “อึด ฮึด สู้”

  8. สูงวัย ไกลโรค: สุขภาพองค์รวมเพื่อป้องกันและบรรเทาโรคทางกาย โรคทางใจ

  9. สุขใจ วัยเก๋า 2: ไม่ซึม ไม่เศร้า ไม่เหงา ด้วยกิจกรรมบำบัด

  10. สูงวัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม: สิ่งแวดล้อมกับสุขภาพแบบองค์รวม

  11. สูงวัย เตรียมเดินทางไกล ไร้กังวล 1: การดูแลแบบประคับประคองและการเผชิญความตาย

  12. สูงวัย เตรียมเดินทางไกล ไร้กังวล 2: สมุดเบาใจและพินัยกรรมชีวิต

  13. การอบรม สปสช. โครงการสร้างเสริมสุขภาพ

  14. โครงการนวัตกรรมทางสังคมเพื่อความครอบคลุมทางสังคม “การพัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อร่วมสร้างเสริมภาวะพฤฒพลังและสุขภาพองค์รวมด้วยหุ้นส่วนความร่วมมือเครือข่ายจตุภาคี”

  15. ดำเนินงานวิจัย “หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุกับการสร้างเสริมภาวะพฤฒพลัง (Active ageing) ของผู้สูงอายุไทย”

 

LINK :