5. ความเท่าเทียมทางเพศ



 

 

 


ชื่อกิจกรรม/โครงการ : Team Physician and Sports Science Course

ที่มาและความสำคัญ : การดูแล รักษา และฟื้นฟู อาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา เป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาได้แก่ แพทย์ นักกายภาพบำบัด นักวิทยาศาสตร์การกีฬาที่เชี่ยวชาญด้าน Strength and Conditioning ด้านชีวกลศาสตร์ ด้านโภชนาการ และด้านจิตวิทยา ความเข้าใจถึงบทบาทของการทำงานสหวิชาชีพทางด้าน Sports Medicine มีความสำคัญมากที่จะช่วยส่งผลให้การดูแลนักกีฬา/ผู้ที่ออกกำลังกาย บรรลุผลสำเร็จ และกลับไปเล่นกีฬา ออกกำลังกาย ได้ตามเป้าหมาย หรือกลับเข้าสู่สนามแข่งขันได้อย่างปลอดภัยและสมรรถภาพกลับมาอย่างเต็มที่

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จึงได้ร่วมมือกันจัด โครงการอบรม Team Physician and Sports Science Course เพื่อบูรณาการความรู้ทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา จากสหวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์เฉพาะทาง นักกายภาพบำบัดทางการกีฬาและผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลฟื้นฟู นักวิทยาศาสตร์การกีฬา นักโภชนาการ ให้สามารถนำองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้จากการอบรมไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการในการดูแลรักษา คนไข้ นักกีฬา ต่อไป

รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ : โครงการอบรม Team Physician and Sports Science Course เป็นความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จัดบรรยายในหัวข้อเรื่อง Bridging the Gap from Injury to Performance เพื่อให้ความรู้ แก่แพทย์ นักกายภาพ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา หรือโค้ชที่สนใจด้านเวชศาสตร์การกีฬา เพื่อให้เข้าใจการดูแลภาวะฉุกเฉิน สามารถลดความเสี่ยง การเกิดความพิการและเสียชีวิต เข้าใจวิธีการดูแล/จัดการนักกีฬาที่มาด้วยอาการบาดเจ็บได้ถูกต้อง นำไปสู่การป้องกันการบาดเจ็บ เข้าใจหลักการฝึกซ้อมกีฬา กระบวนการทาง ชีวกศาสตร์ สรีรวิทยา และโภชนาการ อีกทั้งทำให้เกิดเครือข่ายต่อยอดความรู้ไปสู่การปฏิบัติ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 -21 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามมินทร์ ชั้น 7 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย มหิดล มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 75 คน

LINK :

https://www.facebook.com/SportsScienceMahidolUniversity/posts/pfbid0ohb2NthVsvvxWin7ttgn8zjhmrqBu2DrPKF4KZoDi53MqiWsD1sRVBvwuokLPHVWl


ชื่อกิจกรรม/โครงการ : Swimming Instructor Course Level 1

ที่มาและความสำคัญ : วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์และศิลป์อันเป็นวิทยาศาสตร์การกีฬาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จึงกำหนดจัดโครงการอบรม “ผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำ” ระดับ 1 ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 6 – 10 มีนาคม 2565 รวมระยะเวลา 5 วัน ณ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยผู้ผ่านการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตร จำนวน 2 ฉบับ คือ ประกาศนียบัตรผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำ ระดับ 1 และประกาศนียบัตรการปฐมพยาบาลด้วยการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Cardiopulmonary resuscitation : CPR) โดยประกาศนียบัตรผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำ ระดับ 1 สามารถนำไปขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ฝึกสอนกีฬากับสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทยและการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ ทั้งนี้ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดลคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการอบรมนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเยาวชน ประชาชนทั่วไป และเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันและขับเคลื่อนให้เกิดการผลิตและพัฒนาครูสอนว่ายน้ำให้ได้รับการรับรองมาตรฐานวิชาชีพจากสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทยและการกีฬาแห่งประเทศไทยต่อไป

รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :

LINK :

https://www.facebook.com/SportsScienceMahidolUniversity/posts/pfbid0ohb2NthVsvvxWin7ttgn8zjhmrqBu2DrPKF4KZoDi53MqiWsD1sRVBvwuokLPHVWl


ชื่อกิจกรรม/โครงการ : MUSS Mini Marathon ครั้งที่ 7

ที่มาและความสำคัญ :

1.เพื่อร่วมแสดงพลังและระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์

2.เพื่อใช้ในกิจการของวิทยาลัยฯ เกิดประโยขน์กับวิทยาลัยด้านการบริการและกิจกรรมการเรียนการสอน

3.เพื่อให้นักศึกษา บุคลากร ประชาชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :

การพัฒนาคุณภาพ และสังคม เป็นเรื่องที่สำคัญต่อประทศเป็นอย่างมาก การกีฬาเป็นส่วนหนึ่งจะช่วยการพัฒนาเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เพราะการเล่นกีฬาจะช่วยให้ผู้เล่นมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีจิตใจที่แจ่มใส และยังมีส่วนให้เกิดการเรียนรู้จากผลการแข่งขันประเภทต่างๆ คือ แพ้เป็นชนะเป็นอภัยเป็น ก่อให้เกิดความสามัคคี ดังนั้น ทุกส่วนงานควรมีการรณรงค์ และส่งเสริมให้นักศึกษาบุคลากรและชุมชนรอบสถานศึกษาได้เล่นกีฬา หรือ ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ได้กำหนดวิสัยทัศน์ ( Vision ) มุ่งมั่นที่จะเป็นหนึ่งในผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในระดับนานาชาติ และกำหนดพันธกิจ ( Mission ) เพื่อสร้างความเป็นเลิศด้านวิจัย และนวัตกรรมทางการ ผลิตบัณทิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีแก่ประชาและการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนในประเทศเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย และจิตใจ จึงได้จัดกิจกรรม โครงการ MUSS Mini Marathon ครั้งที่ 7 ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของตนเอง สังคม และประเทศชาติต่อไป

LINK :


ชื่อกิจกรรม/โครงการ : MUSS Football Academy Family ปีที่3

ที่มาและความสำคัญ :

สำนักงานสนับสนุนกิจกรรมกีฬาและการออกกำลังกาย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการ กีฬาได้ร่วมมือ กับ หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต(การออกกำลังกายและกีฬา) วิชาเอกฟุตบอล จัดทำโครงการ MUSS Football Academy ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเฉลิมฉลองครบรอบ 36 ปี วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้เล่นฟุตบอลอย่างถูกต้องและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 ได้ดำเนินการเป็นปีที่ 3 ซึ่งนอกจากโครงการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมสุขภาวะที่ดีแก่เยาวชนแล้ว ยังเป็นโครงการบริการวิชาการที่บูรณาการด้านการศึกษา เพื่อนักศึกษาในหลักสูตร ศศ.บ (การออกกกำลังกายและการกีฬา) สาขาวิชาเอกฟุตบอล ได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในรูปแบบ In-house Training ในทักษะการฝึกสอนกีฬาการบริหารจัดการกีฬาฟุตบอล

รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :

รับสมัครเด็กๆ อายุ 6-12 ปี ที่สนใจกีฬาฟุตบอล เพื่อพัฒนาทักษะเทคนิคการเล่นฟุตบอลที่ถูกวิธีเรียนทุกวันเสาร์-อาทิตย์เวลา 16.00 - 18.00 น. เริ่มเรียน 7 ม.ค. -26 ก.พ.2566 นอกจากนี้เป็นเวทีในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ภายในมหาวิทยาลัย (In-house Training) ของนักศึกษาหลักสูตร ศศ.บ (การออกกกำลังกายและการกีฬา) สาขาวิชาเอกฟุตบอล

LINK :


ชื่อกิจกรรม/โครงการ : ค่ายยุวชนรักกีฬาฤดูร้อน ครั้งที่ 23

ที่มาและความสำคัญ :

โครงการ ค่ายยุวชนรักกีฬาฤดูร้อน เป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่อง เป็นครั้งที่ 23 เพื่อให้ยุวชนได้รู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ยุวชนได้รับการฝึกว่ายน้ำที่ถูกต้องและเรียนรู้ทักษะกีฬาที่เหมาะสมกับวัยของยุวชนฯ เสริมสร้างบุคลิกภาพและการแสดงออกที่ดี พัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจด้วยกีฬา ตลอดจนเพื่อปูพื้นฐานการออกกำลังกายเพื่อนำไปสู่การเล่นกีฬาในอนาคต นอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังเป็นโครงการบริการวิชาการวที่บูรณาการร่วมกับพันธกิจการศึกษา โดยเป็นเวทีให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะทางวิชาชีพในการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาให้แก่เยาวชน

รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :

ด้วยสำนักงานสนับสนุนกิจกรรมกีฬาและการออกกำลังกาย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดจัดกิจกรรม” โครงการค่ายยุวชนรักกีฬาภาคฤดูร้อน ครั้งที่ 23 ประจำปี 2566 ” เริ่มระหว่างวันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2566 ถึง วันพุธที่ 5 เมษายน 2566 ( หยุดเฉพาะวันเสาร์, อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ) ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. โดยยุวชนได้รับการฝึกว่ายน้ำที่ถูกต้องและเรียนรู้ทักษะกีฬาได้แก่ ฟุตบอล, แบดมินตัน, เทควันโด, ยิมนาสติก

LINK :


ชื่อกิจกรรม/โครงการ : SIRIMONGKOL SWIMMING CLASS

{os-gal-37

ที่มาและความสำคัญ :

สำนักงานสนับสนุนกิจกรรมกีฬาและการออกกำลังกาย จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการสร้างเสริมสุขภาพ ตระหนักถึง ความสำคัญของการออกกำลังกาย ส่งผลให้ร่างกาย จิตใจ มีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างสมวัย เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการฝึกว่ายน้ำที่ถูกต้องและเรียนรู้ทักษะกีฬาว่ายน้ำที่เหมาะสม รวมถึงสามารถช่วยเหลือตนเองจากการจมน้ำได้ และเพื่อเป็นโครงการเรียนรู้ ฝึกสอน เกี่ยวกับการเป็นครูสอนว่ายน้ำ สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :

สอนการว่ายน้ำอย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล แก่เยาวชนตั้งแต่อายุ 5 ขวบขึ้นไปและประชาชนที่สนใจ จำนวน 10 ชั่วโมง เริ่ม 14 มกราคม 2566 เวลา 9.00 น.- 10.00 น.

LINK :


แบบฟอร์มสรุปโครงการที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด SDGs

ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โรงเรียนผู้สูงอายุเมืองพัทยาสร้างสุข รุ่น 1

ตัวชี้วัด (ตัวชี้วัดที่สอดคล้อง SDGs) :  

ตัวชี้วัดที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (GOOD HEALTH AND WELL-BEING)

ตัวชี้วัดที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ (GENDER EQUALITY)

ตัวชี้วัดที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (PARTNERSHIPS FOR THE GOALS)

 

ที่มาและความสำคัญ : 

ผู้บริหารเมืองพัทยาให้ความสำคัญเรื่องการสร้างเสริมและพัฒนาภาวะพฤฒพลังและสุขภาพองค์รวมของผู้สูงอายุด้วยแนวคิด Integrated Care for Older People (ICOPE) หรือการบูรณาการการดูแลผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลก ซึ่งแนวคิดนี้เน้นการป้องกัน (Prevention) และสร้างเสริม (Promotion) “การดูแลสุขภาพตนเองของคนทุกคน” กอปรกับต้องการให้เกิดการมีส่วนร่วมการพัฒนาเมืองทุกด้านจากภาคส่วนต่างๆ ด้วยเหตุนี้ หัวหน้าโครงการฯ ซึ่งทำงานร่วมกับ ดร.ศิวัช บุญเกิด รองปลัดเมืองพัทยา (อดีตรองปลัดเทศบาลเมืองหัวหิน) จึงปรึกษาหารือผู้บริหารและกำหนดกรอบแนวคิดการทำโครงการด้วยการพยายามรวมภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ (เมืองพัทยา) ภาคประชาชน (ชาวบ้าน ผู้สูงอายุ อสม.) ภาควิชาการ (มหาวิทยาลัยมหิดล) และภาคเอกชน (บริษัท ห้างร้านต่างๆ) เข้ามาร่วมกันสร้างสรรค์เมืองพัทยาผ่านความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือจตุภาคี ทั้งนี้ หัวหน้าโครงการฯ และคณะทำงานส่วนหนึ่งมีประสบการณ์การทำงานกับ ดร.ศิวัช บุญเกิด และพอจะเข้าใจบริบทเมืองและท้องถิ่นระดับหนึ่งแล้ว จึงร่วมกันออกแบบหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเมืองพัทยาสร้างสุข รุ่น 1 ซึ่งผ่านการฟังเสียงความต้องการของผู้เกี่ยวข้องด้วยกระบวนการกลุ่ม (เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ไปทำ workshop ร่วมออกแบบหลักสูตรและเรียนรู้รูปแบบกิจกรรมและกระบวนการด้วยกระบวนการทางจิตตปัญญาศึกษา) แล้วจัดเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุเมืองพัทยาสร้างสุข รุ่น 1 ต่อไป ในภาควิชาการ วิทยากรกระบวนการ (Facilitator) โดยบุคลากรของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ซึ่งมีความรู้และเข้าใจเรื่องกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่เน้นการบรรยาย แต่ใช้กระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา ร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมตามหัวข้อต่างๆ และชาวบ้าน ได้แก่ ผู้นำกลุ่มกิจกรรมต่างๆ อสม. ชาวบ้านทั่วไป ในเมืองพัทยา จะได้ร่วมทำงานใหม่ๆ ร่วมกัน เรียนรู้และเติมโตภายในร่วมกัน เข้าใจบริบทของสังคมและชุมชนผู้สูงอายุมากขึ้น เข้าใจบริบทการพัฒนาท้องถิ่นโดยเฉพาะเมืองพัทยาซึ่งมีโจทย์ปัญหาที่ซับซ้อนและท้าทายมากมาย รวมถึงการเป็นวิทยากรกระบวนการมาจากหลากหลายสาขาและหน่วยงานก็ได้รู้จักกันมากขึ้น เรียนรู้ข้ามศาสตร์กันมากขึ้น โลกทัศน์กว้างขวาง โครงการนี้สามารถตอบโจทย์และตัวชี้วัดทั้งระดับส่วนงานและมหาวิทยาลัยเรื่องการสร้างสรรค์งานรับใช้สังคมได้

 

รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :

  1. การอบรม อสม. โครงการสร้างเสริมสุขภาพ

การอบรมเชิงปฏิบัติการ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative education) หรือการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative learning) ไม่ใช้ lecture-based แต่เน้น activity-based ด้วย active and participatory learning หัวข้อการเรียนรู้เรื่องสุขภาพ (Health) แบบองค์รวมที่ไม่ได้มุ่งเพียงสุขภาพร่างกาย แต่ครอบคลุมสุขภาพมิติอื่นประกอบด้วยสุขภาพจิต สุขภาพสังคม และสุขภาพปัญญา ทั้งนี้ แต่ละหัวข้อจึงไม่ได้เรียนรู้แบบแยกส่วนหรือผูกขาดเฉพาะเรื่อง แต่เรียนรู้ผ่านแนวคิด 3 ก. คือ เกม กิจกรรม กระบวนการ เช่น หัวข้ออาหารและโภชนาการจะเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการกินการอยู่ของคนในพื้นที่ เรียนรู้ผ่านกิจกรรมให้ผู้สูงอายุรวมกลุ่มทำอาหารท้องถิ่นตามเงื่อนไขด้านโภชนาการ แล้วนำอาหารมาจัดแสดงเพื่อให้คณะวิทยากรกระบวนการและผู้บริหารได้ชิมกัน แล้ววิทยากรกระบวนการเชื่อมโยงเรื่องอาหารการกินกับหลักการด้านโภชนาการเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) หัวข้อการเรียนรู้ ยกระดับและเชื่อมโยงการเรียนรู้เรื่องสุขภาพ (แนวคิด สุขภาพคือสภาวะแห่งความสุข = ความสุข) จึงประกอบด้วยเนื้อหาการเรียนรู้ที่หลากหลายและน่าสนใจ ทั้งยังเหมาะสมกับคนสูงวัยและสถานการณ์ปัจจุบันทั้งเรื่องการออกกำลังกาย อาหารการกิน การฟังอย่างลึกซึ้งและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีม สุขภาพจิตและการปรับตัว การใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปสร้างสรรค์และทำสติ๊กเกอร์ ภัยไซเบอร์ การกรอก google form กิจกรรมบำบัด ดนตรี จิตรศิลป์ รวมถึงการทำพินัยกรรมชีวิต (Living will) และการเตรียมตัวตายอย่างสงบเบื้องต้น (Palliative care) หัวข้อการเรียนรู้ประกอบด้วย

  1. การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุ

  2. สุนทรียสนทนาเพื่อการสื่อสารสุขภาพและการสร้างชุมชนการเรียนรู้

  3. สูงวัยให้ขยับ: เคลื่อนไหวร่างกายให้สนุกและปลอดภัยด้วยกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย

  4. สูงวัยไฮเทค: ไซเบอร์ในชีวิตประจำวันเพื่อสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม

  5. สุขใจ วัยเก๋า 1: ดนตรีและศิลปะบำบัดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม

  6. โภชนาการบูรณาการ: อาหารกาย อาหารใจ ภูมิปัญญาคนสูงวัย

  7. สูงวัย ใจสู้: ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตเพื่อสร้างเสริมพลังกายใจ “อึด ฮึด สู้”

  8. สูงวัย ไกลโรค: สุขภาพองค์รวมเพื่อป้องกันและบรรเทาโรคทางกาย โรคทางใจ

  9. สุขใจ วัยเก๋า 2: ไม่ซึม ไม่เศร้า ไม่เหงา ด้วยกิจกรรมบำบัด

  10. สูงวัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม: สิ่งแวดล้อมกับสุขภาพแบบองค์รวม

  11. สูงวัย เตรียมเดินทางไกล ไร้กังวล 1: การดูแลแบบประคับประคองและการเผชิญความตาย

  12. สูงวัย เตรียมเดินทางไกล ไร้กังวล 2: สมุดเบาใจและพินัยกรรมชีวิต

  13. การอบรม สปสช. โครงการสร้างเสริมสุขภาพ

  14. โครงการนวัตกรรมทางสังคมเพื่อความครอบคลุมทางสังคม “การพัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อร่วมสร้างเสริมภาวะพฤฒพลังและสุขภาพองค์รวมด้วยหุ้นส่วนความร่วมมือเครือข่ายจตุภาคี”

  15. ดำเนินงานวิจัย “หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุกับการสร้างเสริมภาวะพฤฒพลัง (Active ageing) ของผู้สูงอายุไทย”

 

LINK : 


แบบฟอร์มสรุปโครงการที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด SDGs

ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อกิจกรรม/โครงการ : ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างเทศบาลเมืองหัวหินกับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ตัวชี้วัด (ตัวชี้วัดที่สอดคล้อง SDGs) :  

ตัวชี้วัดที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (GOOD HEALTH AND WELL-BEING)

ตัวชี้วัดที่ 4 การศึกษาเท่าเทียม (QUALITY EDUCATION)

ตัวชี้วัดที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ (REDUCED INEQUALITIES)

ตัวชี้วัดที่ 11 เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างยั่งยืน (SUSTAINABLE CITIES AND COMMUNITIES)

ตัวชี้วัดที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (RESPONSIBLE CONSUMPTION AND PRODUCTION)

ตัวชี้วัดที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (PEACE AND JUSTICE)

ตัวชี้วัดที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (PARTNERSHIPS FOR THE GOALS)

 

ที่มาและความสำคัญ : 

หัวหินให้เป็นเมืองตากอากาศที่สำคัญของโลก และเป็นเมืองต้นทุนที่สำคัญของประเทศไทย จากการที่หัวหินเป็นเมืองจุดหมายปลายทางเรื่องการท่องเที่ยวทำให้เมืองหัวหินมีการเติบโตของเมืองอย่างก้าวกระโดด จากที่เมื่อ 15 ปีที่แล้วเมืองหัวหินมีประชากรไม่ถึง 25,000 คน แต่ปัจจุบันกลับมีประชากรถึง 62,068 คน และมีประชากรแฝงกว่า 200,000 คน ส่งผลให้ปัญหาการจราจร ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาทางสังคมอื่นๆ เริ่มเป็นปัญหาท้าทายโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันเมืองหัวหินกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ เห็นได้จากจำนวนผู้สูงอายุที่มีชื่อในทะเบียนบ้านจำนวน 9,026 คน คิดเป็นร้อยละ 15 โดยถ้านับรวมผู้สูงอายุที่เป็นประชากรแฝงที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลอีก 3,000 คน หัวหินก็จะมีประชากรผู้อายุคิดเป็นร้อยละ 19 ของจำนวนประชากรรวมทั้งหมด ด้วยเหตุผลดังกล่าวเทศบาลเมืองหัวหินจึงได้จัดตั้งเครือข่ายการพัฒนาหัวหินสร้างสุขขึ้น เพื่อเตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ได้ออกแบบจัดตั้งเป็นศูนย์หัวหินสร้างสุข ซึ่งภาระงานของศูนย์ ประกอบด้วย 10 กลุ่มกิจกรรม ดังนี้ กลุ่มกิจกรรมแรก งานสวัสดิการผู้สูงอายุโดยชุมชน กลุ่มกิจกรรมที่สอง งานกายภาพบำบัดและการฟื้นฟู กลุ่มกิจกรรมที่สาม งานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมบำบัด กลุ่มกิจกรรมที่สี่ งานกิจกรรมบำบัด กลุ่มกิจกรรมที่ห้า งานโภชนาการสำหรับผู้อายุ กลุ่มกิจกรรมที่หก งานนวัตกรรมการจัดการผู้สูงอายุ กลุ่มกิจกรรมที่เจ็ด งานจัดการเครือข่ายผู้สูงอายุ กลุ่มกิจกรรมที่แปด งานอุปกรณ์อำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ กลุ่มกิจกรรมที่เก้า งาน Day Care และกลุ่มกิจกรรมสุดท้าย ศูนย์ฝึกอาชีพและศึกษาดูงาน ด้วยศักยภาพของบุคลากรวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ที่ "มีใจ" และเห็นคุณประโยชน์ของการร่วมทำงานพัฒนาท้องถิ่น และ "มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์" ด้านต่างๆ เพื่อร่วมสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการสังคมผู้สูงอายุในเมืองหัวหิน วิทยาลัยฯ ได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับเทศบาลหัวหิน เพื่อสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการทั้งด้านวิทยาการ องค์ความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาหัวหินสร้างสุข พัฒนาทักษะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดการสังคมผู้สูงอายุ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การฝึกงานของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล

 

รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :

  1. 1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ "สัมพันธภาพ พลังกลุ่ม และความสุข" เพื่อเสริมสร้างพลังกลุ่ม ภาวะการนำ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการรับฟังกัน ความสุข และทำให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ ชุมชนกัลยาณมิตร กิจกรรมนี้เป็นปฐมบทหรือบาทฐานของการนำไปสู่การสร้างเครือข่ายในชุมชนที่เข้มแข็งขึ้น และช่วยต่อยอดการทำงานที่ลงลึกเรื่องอื่นๆ ต่อไป 2. การอบรมเชิงปฏิบัติการ "ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวให้ปลอดภัยและสนุกด้วยการออกกำลังกาย" จัดให้ครูและผู้นำการออกกำลังกายทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่เพื่อขยายมุมมองและทบทวนความรู้ทางวิชาการสมัยใหม่เรื่องกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย 3. การอบรมเชิงปฏิบัติการ "กิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุและ อสม." เพื่อสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมและป้องกันโรคสำหรับผู้สูงอายุ และคาดหวังให้ อสม. นำไปเผยแพร่และใช้ทำงาน อสม. ต่อไป 4. การอบรมเชิงปฏิบัติการ "ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการป้องกันโรคติดเเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19)" อสม. และนักเรียน ซึ่งโครงการนี้จัดขึ้นช่วงโรคโควิด 19 ระบาด โครงการเชื่อมกลุ่มคน 2 กลุ่มคือคนแก่และเด็ก (ลูกหลาน) เข้าด้วยกันผ่านการใช้เทคโนโลยี คือให้ อสม. ได้เรียนรู้เนื้อหาบางอย่าง เช่น โรคโควิด 19 และกิจกรรมทางกายผ่านการใช้เทคโนโลยี Smart phone แล้วให้ อสม. ไปทำกิจกรรมถ่ายทอดเรื่องพวกนี้กับนักเรียนและช่วยเก็บข้อมูล จนได้ข้อมูลทำงานวิจัยได้ระดับหนึ่ง 5. การอบรมเชิงปฏิบัติการ "การรวบรวมข้อมูลโรคโควิด 19 กับพฤติกรรมของประชาชน เช่น ผู้กครอง เด็กนักเรียนช่วงโรคโควิด 19 ระบาด" กิจกรรมนี้ใช้กระบวนการละครและศิลปะเป็นเครื่องมือให้ครอบครัว (ผู้ปกครอง เด็กนักเรียน) และครู มาพบกัน และแปลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคโควิด 19 ร่วมกัน ซึ่งข้อมูลจากกิจกรรมสามารถนำไปใช้ต่อยอดและออกแบบกิจกรรมอื่นๆ ต่อไป กิจกรรมส่วนใหญ่ของโครงการนี้ จัดทำด้วยแนวคิด "สุขภาพองค์รวม" (Holistic health) กล่าวคือไม่ได้มองคำ สุขภาพเป็นเพียงไม่เป็นโรค ต้องออกกำลังกาย ต้องได้กินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ดังนั้นโครงการไม่ได้เริ่มดำเนินการจากการไปอบรมหรือให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายทันที แต่เริ่มจากการต้องเรียนรู้และเข้าใจคนในพื้นที่ก่อนว่าเขาเป็นอย่างไร ต้องการอะไร มีปัญหาอะไร อยากให้เราช่วยอะไรยังขาดอะไร ดังนั้น โครงการจึงมอง สุขภาพมิติอื่น ๆ คือสังคม จิตใจ ปัญญา ของคนในพื้นที่ด้วย เครื่องมือที่ใช้จึงหลากหลาย เช่น การฟังอย่างลึกซึ้ง (Dialogue) ดนตรี ศิลปะ เกม กระบวนการกลุ่ม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้อบรมรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพอีกชิ้นหนึ่งและเป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยเครื่องมือและวิธีการมองสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม โครงการจึงสามารถเตรียมความพร้อมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้แล้วคือชาวบ้านมีพลัง มีแรงบัลดาลใจ เห็นโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่จะพัฒนา กล้าหาญมากขึ้น ฟังกันมากขึ้น เข้าอกเข้าใจกันมากขึ้น พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตัวเองและชุมชนแล้ว โครงการจึงค่อยๆ หยอดกิจกรรมที่เป็นเนื้อหาที่ต้องการ เช่น กิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)ฯ นอกจากนี้ โครงการและชาวบ้านยังจ่อยอดและขยายผลมุมมองเรื่องสุขภาพไปถึงเรื่องสุขภาพมิติต่างๆ อย่างเป็นองค์รวม คือเรื่องสุขภาพองค์รวมกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเกี่ยวข้องกันมาก โครงการช่วยสนับสนุนให้ชาวบ้านกลุ่มต่างๆ ดำเนินงานและทำกิจกรรมต่างๆ จนมีส่วนร่วมให้เทศบาลเมืองหัวหินได้รับรางวัล และชาวบ้านได้รับรางวัลผู้นำชุมชนและ/หรือ อสม. ดีเด่นระดับชาติ รางวัลล่าสุดของเทศบาลเมืองหัวหินคือ 2023 Princess Environmental Award ซึ่งรับพระราชทานรางวัลเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2566 ที่กรุงเทพมหานคร

     

    LINK :