The 9th Asian Society of Sport Biomechanics
Conference - ASSB 2023 and The 2 nd SAT
International Conference on Sports Science
SDGs 3 SDGs 4 SDGs 9 SDGs 17
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
Australian Strength and Conditioning
Association (ASCA)
SDGs 3 SDGs 4 SDGs 9 SDGs 17
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการประชุมวิชาการประจำปี ASSB (Asian Society of sport Biomechanics 2023) "The 9 th Asian Society of Sport Biomechanics" และ "The 2 and SAT International Conference on Sports Science"
ที่มาและความสำคัญ : วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายในการให้บริการวิชาการ แก่อาจารย์ นักศึกษา ประชาชน ชุมชนในประเทศ เพื่อเป็นการบริการวิชาการที่สร้างองค์ความรู้และเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ในศาสตร์วิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อให้บุคคลที่สนใจได้นำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์สูงสุด ผ่านการประชุมวิชาการระดับชาติ รวมทั้งเป็นเวที พบปะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ หรือแนวทางในการเผยแพร่องค์ความรู้ต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างเครือข่ายด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในระดับชาติ
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ : การประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ ภายใต้หัวข้อ “SPORT BIOMECHANICS : FROM RESEARCH TO THE FIELD” เพื่อสร้างเครือข่ายและเผยแพร่งานวิจัย ด้าน SPORT BIOMECHANICS โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ President of Asian Society of sport Biomechanics เป็นประธานในการจัดงาน ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม - 1 กันยายน 2566 ณ โรงแรม The Grand Fourwings Convention
LINK :
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ASCA
ที่มาและความสำคัญ : สมาคม Australian Strength and Conditioning Association (ASCA) เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง ที่เน้นในด้านการจัดอบรมและให้ความรู้ทางด้านการฝึกความแข็งแรงและการปรับสภาพร่างกาย (Strength and Conditioning) ในประเทศออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาวิชาชีพผู้ฝึกสอน (S&C coach) รวมถึงส่งเสริมการวิจัย สมาคม ASCA ได้จัดให้มีการฝึกอบรมด้าน Strength and Conditioning ที่เป็นมาตรฐานอยู่มากมายหลายหลักสูตร ซึ่งนอกจากการได้รับการรับรองจาก ASCA แล้ว ยังได้รับการรับรองจาก National Coaching Association Scheme (NCAS) วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เห็นถึงความสำคัญในการเพิ่มพูนความรู้ทางด้านนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและการฝึกสอนนักกีฬา เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้พื้นฐาน มีความเข้า่ใจและทักษะ รวมถึงสามารถประยุกต์และออกแบบโปรแกรมการฝึกทางด้านความแข็งแรงเพื่อพัฒนาความสามารถของนักกีฬา จึงได้ร่วมมือกับทางสมาคม Australian Strength and Conditioning Association (ASCA) เพื่อจัดอบรมครั้งนี้ขึ้น ซึ่งในการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับการฝึกปฏิบัติจริง และจะได้ใบประกาศนียบัตรของสมาคม ASCA และ (NCAS) เมื่อผ่านเกณฑ์ที่ทางสมาคมกำหนด โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับการฝึกที่มีมาตรฐานระดับสากล 2. เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการฝึกการออกกำลังกาย 3. เพื่อผลักดันให้เกิดเครือข่ายร่วมกันด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ : อบรมเชิงปฏิบัติการ ฝึกทดสอบออกแบบโปรแกรมการฝึกทางด้านความแข็งแรงเพื่อพัฒนาความสามารถของนักกีฬา จึงได้ร่วมมือกับทางสมาคม Australian Strength and Conditioning Association (ASCA) เพื่อจัดอบรมครั้งนี้ขึ้น ซึ่งในการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับการฝึกปฏิบัติจริง และจะได้ใบประกาศนียบัตรของสมาคม ASCA และ (NCAS) เมื่อผ่านเกณฑ์ที่ทางสมาคมกำหนด
LINK :
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการพัฒนาอุปกรณ์เพื่อจัดทำสื่อการเรียนการสอนและประชาสัมพันธ์
ตัวชี้วัด (ตัวชี้วัดที่สอดคล้อง SDGs) :
เป้าหมายที่ 4 Ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เป้าหมายที่ 9 Gender Equality : Industry, Innovation and Infrastructure สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
ที่มาและความสำคัญ : วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มีภารกิจหลัก
1) ดำเนินการจัดการเรียนการสอน สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และระดับปริญญาเอก ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
2) ผลิตผลงานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา งานวิจัยกีฬาเพื่อการแข่งขัน งานวิจัยเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงสำหรับคนไทย และพัฒนาไปสู่ระดับสากล อีกทั้งผลงานการวิจัยมีคุณภาพตรงตามกระแสความต้องการที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชน
3) งานบริการด้านวิชาการสู่สังคม เป็นผู้ชี้นำและเผยแพร่ความรู้อย่างถูกหลักวิธี ส่งเสริมผลการรักษาพยาบาลความรู้ทางวิทยาศาสตร์การกีฬาได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อสนองนโยบายของชาติในการป้องกันก่อนการรักษาพยาบาล ส่งผลให้ประชาชนทั่วไปมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพและมีสุขภาพดีถ้วนหน้า เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิทยาลัยฯ มีกลยุทธ์สร้างความเป็นเลิศการจัดการศึกษาในการพัฒนา Platform ด้านการศึกษาสำหรับนักศึกษาเพื่อเพิ่มจำนวนและคุณภาพ ด้วยวิธีการ รูปแบบ สื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน อีกทั้งเพื่อสื่อสารและถ่ายทอดภารกิจของวิทยาลัยฯ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม ไปยังกลุ่มบุคคลต่างๆ ให้เกิดความรู้ความเข้าในภารกิจ รับทราบข้อมูลข่าวสารกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งเป็นงานส่งเสริมความเข้าใจอันดีและสร้างสัมพันธ์ภาพระหว่างวิทยาลัยฯ กับผู้ปกครอง นักศึกษา ประชาชนที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายและตอบสนองกับความต้องการ
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
ในปี 2566 วิทยาลัยฯ ส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้และสร้างการรับรู้ ตามโครงการพัฒนาอุปกรณ์เพื่อจัดทำสื่อการเรียนการสอนและประชาสัมพันธ์ ได้แก่
-
จัดหา พัฒนาอุปกรณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนและการประชาสัมพันธ์
-
-
จัดซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อทดแทนเครื่องที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอต่อการทำงาน จำนวน 1 ชุด
-
จัดซื้อ Smart TV ขนาด 65 นิ้ว จำนวน 1 ชุด
-
จัดซื้อชุดเครื่องขยายเสียงพร้อมไมล์โครโฟน จำนวน 1 ชุด
-
-
จัดทำสื่อในแพลตฟอร์มต่างๆ ทั้งรูปแบบ Online และ Offline ได้แก่
-
-
ผลิตบทเรียนออนไลน์ MUx
-
เผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายในรูปแบบออนไลน์ ได้แก่
-
LINK :
- https://mux.mahidol.ac.th/
- https://www.facebook.com/SportsScienceMahidolUniversity/followers
- https://www.tiktok.com/@ssmahidol
- https://www.youtube.com/c/musschannelmahidol