เกี่ยวกับเรา
ความเป็นมา
ความเป็นมา
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาได้วางแนวทางในการพัฒนาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างมีสุขภาวะ จึงตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทั้งของบุคลากร นักศึกษา ผู้รับจ้าง ผู้รับบริการทุกคน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของวิทยาลัยที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย
วิทยาลัยจึงดำเนินงานภายใต้กฎหมายและนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยเริ่มจากการแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารงาน มอบหมายหน้าที่ และร่วมกันปฏิบัติตามข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง มาตรการ มาตรฐาน และแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
นโยบาย
นโยบาย
คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เห็นชอบให้นำนโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 20 กันยายน 2564 มาเป็นนโยบายและ แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
O ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง นโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2564
O มติที่ประชุม คปอ. ครั้งที่ 4/2564
การบริหารจัดการ
การบริหารจัดการ
โครงสร้างการบริหาร
โครงสร้างการบริหาร
{edsnewanimate|class="eds-animate "|data-eds-entry-animation="pop"|data-eds-entry-delay="0"|data-eds-entry-duration="1.5"|data-eds-entry-timing="linear"|data-eds-exit-animation=""|data-eds-exit-delay=""|data-eds-exit-duration=""|data-eds-exit-timing=""|data-eds-repeat-count="1"|data-eds-keep="yes"|data-eds-animate-on="load"|data-eds-scroll-offset=""}
{/edsnewanimate}
คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.)
บทบาทหน้าที่
บทบาทหน้าที่
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา กำหนดให้คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างานมีบทบาทหน้าที่ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ดังนี้
คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.)
-
พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงาน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือนร้อนรำคาญอันเนื่องจากทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
-
รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมาย
-
ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน
-
พิจารณาข้อบังคับและคู่มือ รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน
-
สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้น อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
-
พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงโครงการหรือแผนงานฝึกอบรมเกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของบุคลากรทุกระดับ หัวหน้างาน และผู้บริหาร
-
วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ
-
ติดตามผลความคืบหน้าเรื่่องที่เสนอวิทยาลัย
-
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ
-
ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของวิทยาลัย
-
ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานตามที่วิทยาลัยมอบหมาย
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร (จป.บริหาร)
-
กำกับ ดูแล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
-
เสนอแผนงานโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อวิทยาลัย
-
ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามแผนงานโครงการเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับวิทยาลัย
-
กำกับ ดูแล และติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยของบุคลากรตามที่ได้รับรายงานหรือข้อเสนอแนะ
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน (จป.หัวหน้างาน)
-
กำกับ ดูแล ให้บุคลากรในหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือ
-
วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น
-
สอนวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
-
ตรวจสอบสภาพการทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
-
กำกับ ดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
-
รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือนร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน
-
ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือนร้อนรำคาญอันเนื่องมาจากการทำงาน
-
ส่งเสริมสนับและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
-
ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหารมอบหมาย
ตราสัญลักษณ์
ตราสัญลักษณ์
-
เป็นตราสัญลักษณ์ สื่อถึง การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
-
มีลักษณะรูปทรงคล้าย “โล่ป้องกัน” ซึ่งมีอักษรภาษาอังกฤษ “S” ซ้อนกัน 2 ตัว หมายถึง Sports Science หรือ “SS”
-
สีของโล่ป้องกัน “SS” มีสีม่วงและสีเขียว หมายถึง สีประจำวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
-
ตัวอักษร “MUSS SAFETY FIRST” สีน้ำเงินอยู่ด้านบนของโล่ป้องกัน หมายถึง ระบบด้านความปลอดภัย
-
ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล
-
สัญลักษณ์รูปหัวใจสีแดงอยู่ด้านล่างของโล่ป้องกัน หมายถึง การบริหารจัดการและการส่งเสริมสุขภาพ หรือ HEALTH “H”
-
สัญลักษณ์รูปหมวกนิรภัยสีน้ำเงินอยู่ด้านล่างของโล่ป้องกัน หมายถึง การจัดการด้านความปลอดภัย หรือ SAFETY “S”
-
สัญลักษณ์รูปใบไม้สีเขียวอยู่ด้านล่างของโล่ป้องกัน หมายถึง การจัดการด้านอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือ ENVIRONMENT “E”