นโยบายคุณภาพ
เพื่อให้การดำเนินงานในภาพรวมของมหาวิทยาลัยมุ่งสู่เป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงกำหนดนโยบายคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ดังนี้
o พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของมหาวิทยาลัยมหิดลอย่างเป็นระบบ เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์และเป้าหมายของมหาวิทยาลัย
o ทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัยจัดวางระบบกำกับ ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยและมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เช่น การประยุกต์ใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence :EdPEx)
o ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ การสร้างเครือข่ายชุมชนแนวปฏิบัติ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาคุณภาพของการดำเนินการทุกด้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
ประวัติความเป็นมา
เกณฑ์คุณภาพ
ระดับส่วนงาน
การตรวจประเมินตามเกณฑ์ EdPEx
มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการตรวจประเมินส่วนงานเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพด้านต่างๆ ตามนโยบายการพัฒนาคุณภาพของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจึงมีแผนการดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพภายในทุกส่วนงานในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึงกรกฎาคม ซึ่งกำหนดให้ส่วนงานจัดทำรายงานการประเมินตนเองตามเกณฑ์ TQA และรับการตรวจประเมินฯ ในช่วงเวลาดังกล่าว
แนวทางการดำเนินการตรวจประเมินฯ มหาวิทยาลัยมหิดล
(ส่วนงานที่มีคะแนน EdPEx ตั้งแต่ 301 คะแนนขึ้นไป) มีดังต่อไปนี้
1. ประสงค์ยื่นขอรับการตรวจประเมินขอรับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) จากสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (OTQA) มหาวิทยาลัยมหิดลจะถือว่าการตรวจประเมินจาก TQA
2. ประสงค์ยื่นขอรับตรวจการประเมินจากมหาวิทยาลัย สามารถเลือกรูปแบบการตรวจประเมินฯ ได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
-
-
รูปแบบที่ 1 การตรวจติดตามผลการตรวจประเมินส่วนงานตามเกณฑ์ EdPEx โดยส่วนงานจัดส่งเฉพาะผลลัพธ์การดำเนินงานของส่วนงานตามเกณฑ์ EdPEx หมวด 7.1-7.5 เป็นระยะเวลา 3 ปี และแผนการพัฒนา (Improvement Plan) ตามคำแนะนำจากคณะกรรมการตรวจประเมินฯ
-
รูปแบบที่ 2 การรับการตรวจประเมินจากมหาวิทยาลัยตามปกติ
-
เกณฑ์ระดับพัฒนาการตามเกณฑ์ EdPEx (MU’s Dee)
ระดับพัฒนาการ |
Process |
Result |
A |
126-150 |
101-120 |
A- |
101-125 |
81-100 |
B+ |
76-100 |
61-80 |
B |
51-75 |
41-60 |
B- |
<50 |
<40 |
เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ
ข้อมูลจาก กองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ระดับหลักสูตร
- AUN-QA
ปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Education Philosophy)
ตามที่มหาวิทยาลัยมหิดล มีโยบายด้านการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ทุกหลักสูตรมีการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรใหม่ ให้มีการจัดการศึกษาแบบ Outcome-based Education ดังนั้นมหาวิทยาลัมหิดลจึงขอแจ้งให้ทุกหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษาได้นำปรัชญาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Education Philosophy) ไปใช้โดยมีรายละเอียด ดังนี้
o ปรัชญาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการศึกษาที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนโดยใช้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างเสริมความรู้ ความสามารถและทักษะใหม่ได้ด้วยตนเอง
o Mahidol University Education Philosophy Administering education that focuses on learners’ achievements by means of a learning-centered approach for self-development of knowledge, abilities, and new skills
มุ่งสู่ AUN-QA
มหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network - AUN) และได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของ AUN มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกิจกรรมหนึ่งภายใต้เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนที่จัดขึ้นเพื่อรองรับการเปิดเสรีภาพด้านการศึกษานั้น คือ การสร้างระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในอาเซียน (AUN Quality Assurance - AUN-QA) การประกันคุณภาพการศึกษาถือเป็นกลไกหนึ่งที่นำมาใช้เป็นกลไกในการตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยตามที่ได้กำหนดเอาไว้ในระดับอาเซียน ซึ่งการประกันคุณภาพการศึกษานั้นได้ดำเนินการใน 2 รูปแบบ คือ เครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษา ASEAN University Network Quality Assurance (AUN-QA) และ The ASEAN Quality Assurance Network (AQAN) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ระบบกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ ในการประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับอาเซียนนั้นจะเป็นการประเมินเพื่อรองรับหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเท่านั้น ซึ่งประโยชน์ของการประเมินดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของหลักสูตรต่างๆของมหาวิทยาลัยให้มีความทัดเทียมในระดับนานาชาติ และเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558 ประกอบกับในปี 2558 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะกำหนดให้มีการดำเนินการการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรทั้งหมด ในปีงบประมาณ 2558 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดลได้เตรียมความพร้อมในระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่ทัดเทียมประเทศอาเซียนตามแนวทางของ AUN-QA และ สกอ.
ข้อมูลจาก กองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
รายชื่อหลักสูตรที่ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญาตรี
หลักสูตร |
รูปแบบการตรวจ |
รายชื่อกรรมการ |
วันที่ตรวจประเมินฯ |
วันที่รับตรวจฯ (ปีงบประมาณ) |
ระยะเวลาครบรอบ (ปีงบประมาณ) |
หลักสูตร ศศ.บ. (การออกกำกังกายและการกีฬา) |
3/5/2566 |
2566 |
|||
หลักสูตร วท.บ. (วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย) |
9/5/2566 |
2566 |
ปริญญาโท
หลักสูตร |
รูปแบบการตรวจ |
รายชื่อกรรมการ |
วันที่ตรวจประเมินฯ |
วันที่รับตรวจฯ (ปีงบประมาณ) |
ระยะเวลาครบรอบ (ปีงบประมาณ) |
หลักสูตร วท.ม. (วิทยาศาสตร์การกีฬา) |
27/5/2566 - 28/5/2566 |
2566 |
ปริญญาเอก
หลักสูตร |
รูปแบบการตรวจ |
รายชื่อกรรมการ |
วันที่ตรวจประเมินฯ |
วันที่รับตรวจฯ (ปีงบประมาณ) |
ระยะเวลาครบรอบ (ปีงบประมาณ) |
หลักสูตรปร.ด. (วิทยาศาสตร์การกีฬา) |
19/5/2566 |
2566 |
คู่มือ
Guide to AUN-QA Assessment at Programme Level Version 4.0
- CHE-QA
การคิดภาระงานบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่กรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัย
การคิดภาระงานบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่กรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัย |
MU EdPEx Assessor & MU AUN-QA Assessor
มหาวิทยาลัยมหิดลได้ใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence : EdPEx) ในระดับมหาวิทยาลัยและระดับส่วนงาน และใช้เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา AUN-QA ในระดับหลักสูตรเพื่อเป็นการให้ความดีความชอบแก่คณะกรรมการตรวจ ประเมิน จึงคิดภาระงานให้แก่คณะกรรมการฯ โดยนับเป็นภาระงานด้านบริหารหรือด้านบริการวิชาการ และให้การยอมรับการเป็นกรรมการตรวจประเมินเป็นส่วนหนึ่งของผลการปฏิบัติงานประจำปี เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ที่ได้มี ส่วนช่วยผลักดันงานด้านการพัฒนาคุณภาพของมหาวิทยาลัย โดยได้แบ่งภาระงานตามกระบวนการปฏิบัติงาน โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการอำนวยการพัฒนาคุณภาพ /ที่ประชุมคณบดี/ ที่ประชุมคณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัย โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.MU EdPEx Assessor
ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณบดี ครั้งที่ 5/2555 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2555
2.MU AUN-QA Assessor
ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2561
กิจกรรม |
จำนวนชั่วโมง |
||
MU EdPEx Assessor |
MU AUN-QA Assessor |
||
1. การเตรียมตัวและการอ่านรายงาน การประเมินตนเอง |
|
|
|
|
ประธาน |
30 |
25 |
กรรมการ |
30 |
15 |
|
2. การประชุมเตรียมการตรวจประเมิน |
ใช้เวลาตามจริง |
3 |
|
3. การตรวจประเมินส่วนงาน/ หลักสูตร (ตรวจประเมินพื้นที่จริง) |
ใช้เวลาตามจริง |
12 |
|
4. การตรวจแก้ไขร่างรายงานผลตรวจ |
|
|
|
|
ประธาน |
10 |
10 |
กรรมการ |
5 |
5 |
EdPEx & AUN-QA Assessor
EdPEx Assessor
AUN-QA Assessor