
Education Division

Postgraduate Education Division

Bachelor of Science

Bachelor of Arts

MUSS Sustainability

Support and Sports clinic

Mahidol Channel

SS Green

MUSS Knowledge Management

Muss Safety First

MUSS QD

MUSS ITA
มหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีพื้นฐานมาจากวิชาการแพทย์และสาธารณสุข ได้ตระหนักถึงภาระความรับผิดชอบใน การเสริมสร้างสุขภาพของปวงชน โดยเน้นการป้องกันเป็นหลักสำคัญ การเยียวยารักษาเป็นรอง การออกกำลังกายและการกีฬาเป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งถูกนำมาใช้ในการป้องกันมิให้ประชาชนมีพยาธิสภาพ และช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายมนุษย์
ประวัติวิทยาลัยฯ
ในปีพุทธศักราช 2530 ได้มีการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสมรรถภาพทางกายขึ้นเป็นหน่วยงานในสังกัดบัณฑิตวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายให้เป็นวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาในอนาคต เพื่อทำหน้าที่ในการส่งเสริม เผยแพร่ความรู้ และดำเนินการด้านการวิจัยและพัฒนาสมรรถภาพทางกายให้การกีฬาบรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์ จากนั้นจึงได้ริเริ่มที่จะสร้างอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและสระว่ายน้ำขึ้น ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา ผลิตผู้นำทางด้านการศึกษาวิจัยและบุคลากรในสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อสนองตอบนโยบายของชาติ และตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้มีการสนับสนุนกีฬาของชาติในทุกๆ ด้าน โดยให้ถือเป็นนโยบายในทางปฏิบัติของทางราชการ และให้หน่วยงานต่างๆของรัฐ ส่งเสริมข้าราชการ พนักงาน ได้มีการเล่นกีฬาอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ยังให้ความร่วมมือกับการกีฬาแห่งประเทศไทย,คณะกรรมการกีฬาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยในการเตรียมตัวนักกีฬาระดับชาติ เพื่อการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ กีฬาเอเชียนเกมส์และกีฬาโอลิมปิค ในการนี้ควรจัดให้มีศูนย์กีฬาตามชุมชนต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีสถานที่เล่นกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดลมีที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ท่ามกลางชุมชนขนาดใหญ่และมีความพร้อมในด้านต่างๆ จึงสมควรให้พัฒนาเป็นศูนย์กีฬาของชุมชนในพื้นที่นี้ด้วย
และในปีพุทธศักราช 2530 เช่นเดียวกันได้เสนอขออนุมัติจัดตั้งโรงเรียนกีฬาเวชศาสตร์ขึ้นเป็นหน่วยงานภายในสังกัดภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อจัดการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ผลรวมแนวคิดนี้จึงได้เกิดหน่วยงานใหม่เพื่อเป็นแกนหลักประสานให้บรรลุผลนั่นคือ โครงการจัดตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เพื่อรองรับการดำเนินงานให้เป็นวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาต่อไปในฐานะที่มหาวิทยาลัยมหิดลมีความพร้อมในทุกด้าน กล่าวคือ จากการวางแผนอย่างไตร่ตรอง การวางรากฐานที่มั่นคง ความวิริยะอุตสาหะ มุ่งมั่น การร่วมคิดร่วมสร้าง จึงปรากฎภาพที่เป็นรูปเป็นร่างเด่นชัดขึ้นทุกที จนบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ในปีพุทธศักราช 2537
ในปีพุทธศักราช 2539 โครงการจัดตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มีฐานะเทียบเท่าคณะในมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2539 และได้รับโอนโรงเรียนกีฬาเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เข้ามาไว้ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ยกร่างหลักสูตรระดับปริญญาโท และขยายต่อไปยังระดับปริญญาเอกเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการจัดการเรียนการสอน และการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและสระว่ายน้ำแห่งนี้ ได้รับพระบรมราชานุญาติให้เข้าเป็นหนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองรัชมังคลาภิเษก พระชนมพรรษา 5 รอบ เมื่อปีพุทธศักราช 2531 และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าพระราชทานชื่ออาคารนี้ว่า "สิริมงคล" เมื่อปีพุทธศักราช 2539 หลังจากโครงการจัดตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาได้รับอนุมัติให้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาเรียบร้อยแล้วได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 25ก เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2539 ให้ตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาเป็นส่วนราชการหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยให้มีฐานะเทียบเท่าคณะ ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม พุทธศักราช 2539 การดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา ได้แล้วเสร็จเมื่อปีพุทธศักราช 2538 และได้รับพระบรมราชานุญาติให้เข้าเป็นหนึ่งในโครงการพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาส เฉลิมฉลองรัชมังคลาภิเษก พระชนมพรรษา 5 รอบและนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าพระราชทานชื่ออาคารนี้ว่า "สิริมงคล"
ในปีพุทธศักราช 2538 โครงการจัดตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาได้รับอนุมัติผ่านสภามหาวิทยาลัยให้เป็นวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา และมีโครงการจะเปิดหลักสูตรถึงระดับปริญญาเอกในอนาคตและเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนเป็นแหล่งวิจัยมุ่งเป้าสู่ความเป็นเลิศ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาและให้เป็นศูนย์บริการกีฬาเพื่อสุขภาพแก่ประชาชนทั่วไป
พุทธศักราช 2541 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 25 และได้ใช้อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและสระว่ายน้ำ "สิริมงคล" เป็นสถานที่จัดพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา
พุทธศักราช 2548 มหาวิทยาลัยมหิดลได้เลือกอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและสระว่ายน้ำ "สิริมงคล" เป็นศูนย์อำนวยการศูนย์สื่อมวลชน และเป็นสถานที่จัดประชุมวิชาการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 33
เนื่องในโอกาสที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ในการนี้มหาวิทยาลัยมหิดลได้กราบทูลเชิญพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์เสด็จทรงเปิดการประชุมวิชาการการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 ในวันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2548 เวลา 09.00 น. ณ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
ทำเนียบคณบดี
ทำเนียบคณบดี
รศ. นพ.วิชัย วนดุรงค์วรรณ
วาระการดำรงตำแหน่ง
16 ม.ค. 2540 - 16 ธ.ค. 2542
ศ. คลินิก นพ.วารินทร์
ตัณฑ์ศุภศิริ
วาระการดำรงตำแหน่ง
17 ธ.ค. 2542 - 30 ก.ย. 2543
รศ. นพ.ปัญญา ไข่มุก
วาระการดำรงตำแหน่ง
1 ต.ค. 2543 - 30 ก.ย. 2547
ศ. คลินิก นพ.ธีรวัฒน์
กุลทนันทน์ (รักษาการ)
วาระการดำรงตำแหน่ง
1 ต.ค. 2547 - 27 ธ.ค. 2550
ศ. นพ.อรรถ นานา
วาระการดำรงตำแหน่ง
22 ธ.ค. 2550 - 15 ก.พ. 2559
นพ. ชนินทร์ ล่ำซำ
วาระการดำรงตำแหน่ง
1 มี.ค. 2559 - 29 ก.พ. 2563
รศ.นพ.บวรฤทธิ์
จักรไพวงศ์
วาระการดำรงตำแหน่ง
1 มี.ค. 2563 - 29 ก.พ. 2567
คณบดีปัจจุบัน
คณบดีปัจจุบัน
ผศ.นพ.ยุทธนา อุดมพร
วาระการดำรงตำแหน่ง
1 มี.ค. 2567 - ปัจจุบัน
สีสัญลักษณ์ประจำวิทยาลัย
General Information
Current Students
Instructors and Staff
ข่าวประชาสัมพันธ์