3.3 Collaborations and health services
ลำดับ |
กิจกรรม |
3.3.1 Current collaborations with health institutions
3.3.2 Health outreach programmes
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการอบรม Team Physician and Sports Science Course
ตัวชี้วัด : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs Goal)
เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย
เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ที่มาและความสำคัญ :
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กำหนดจัดโครงการอบรม Team Physician and Sports Science Course แก่แพทย์ นักกายภาพ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา หรือโค้ชที่สนใจด้านเวลศาสตร์การกีฬา เพื่อให้ความรู้สหสาขาที่ทันสมัยในการดูแลการบาดเจ็บ เจ็บป่วยแก่ผู้ออกกำลังกาย ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นโครงการแล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าใจการดูแลภาวะฉุกเฉิน สามารถลดความเสี่ยงการเกิดความพิการ และเสียชีวิต/เข้าใจ และจัดการนักกีฬาที่มีอาการบาดเจ็บหัวไหล่ สะโพก เข่า ข้อเท้า ได้ถูกต้อง เข้าในหลักการฝึกซ้อมกีฬา เข้าใจกระบวนการทางชีวกลศาสตร์ สรีรวิทยาและโภชนาการได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ อีกทั้งทำให้เกิดเครือข่ายต่อยอดความรู้ไปสู่การปฏิบัติ
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นรูปแบบการจัดการบรรยายให้ความรู้ ระหว่างวันที่ 11-12 มีนาคม 2565 ณ ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามมินทร์ ชั้น 7 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 203 คน
Link : MUSS SDGS
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทยสู่การพัฒนาสุขภาวะคนไทยในเด็กและผู้ใหญ่
ตัวชี้วัด : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs Goal)
เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย
ที่มาและความสำคัญ :
การขาดการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 70 ของ สาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด ในปี 2551 มีรายงานว่าประเทศไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการ 3 รักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงถึง 25,225 ล้านบาทต่อปี โดยที่ยังมิได้คิดรวมภาระทางเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ที่มีสาเหตุจากโรคดังกล่าว อาทิเช่น ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการขาดงาน การสูญเสียผลผลิต การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและค่าใช้จ่ายจากการที่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลหรือผู้อื่น องค์การอนามัยโลกและสถาบันเวชศาสตร์การกีฬาแห่งอเมริกาได้แนะนำระดับกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายที่เพียงพอสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 6-17 ปี ว่าควรมีการเคลื่อนไหวออกแรงระดับปานกลางถึงหนักอย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ส่วนผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ควรออกแรงระดับหนักเป็นเวลา 75 นาทีต่อสัปดาห์ และระดับปานกลางเป็นเวลา 150 นาทีต่อสัปดาห์ และลดพฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหวน้อยซี่งเป็นกิจกรรมที่มีการใช้พลังงานต่ำ (1-1.5 เท่าของการใช้พลังงานขณะพัก) ได้แก่ การนั่งๆ นอนๆ การใช้เวลาหน้าจอโทรศัพท์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่าการมีกิจกรรมทางกายรวมถึงการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอมีประโยชน์ ส่งผลให้คนมีสุขภาพและสุขภาวะและที่ดีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์และลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แต่ผลการสำรวจในอดีตจนถึงปัจจุบันกลับชี้ให้เห็นชัดเจนว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังขาดการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายที่เพียงพอ และมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มมากขึ้น โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจในปี พ.ศ.2558 และรายงานว่าประชากรไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีอัตราการทำงานออกแรงระดับหนักหรือปานกลางร้อยละ 37.2 และมีอัตราการเล่นกีฬา/ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมนันทนาการระดับหนักหรือปานกลางเพียงร้อยละ 23.7 นอกจากนี้จากการสำรวจเกี่ยวกับระดับกิจกรรมทางกายในคนไทย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2557 รายงานว่าคนไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปมีกิจกรรมทางกายเพียงพอร้อยละ 71.6 ส่วนการศึกษาในปี พ.ศ. 2558 โดย นุชราภรณ์และคณะ พบว่าประชากรไทยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีระดับกิจกรรมทางกายที่ เพียงพอเพียงร้อยละ 42.4 และร้อยละ 33.8 มีระดับกิจกรรมทางกายน้อย-เนือยนิ่งมาก สอดคล้องกับการ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสัดส่วนผู้ที่มีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุง คือจากร้อยละ 28.7 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 34.7 ในปี 2557 โดยอยู่เป็นลำดับที่สองในประเทศแถบภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติและกรมอนามัย รายงานว่าสถานการณ์ภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียนมีการเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.9 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 10.9 ในปี 2555 และร้อยละ 12.5 ในปี 2558 ปัญหาการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอและการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งในกลุ่มเด็กและเยาวชน รวมทั้งในกลุ่มผู้ใหญ่ต้องได้รับความสนใจเป็นพิเศษและแก้ไขให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลกระทบต่อสมรรถนะในการทำงานของคนในวัยทำงานอีกด้วย เนื่องจากในปัจจุบัน สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเป็นสังคมสูงวัย (Aging Society) และกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย อย่างสมบูรณ์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเมื่อสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ย่อมส่งผกระทบต่อเศรษฐกิจและ สังคมในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิเช่น ประชากรวัยทำงานจะต้องรับภาระที่มากขึ้นในการดูแลผู้สูงอายุ นอกจากนี้กลุ่มคนที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาการหรือกลุ่มโรคต่างๆ หาก มีกิจกรรมทางกายหรือมีการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมต่อกลุ่มโรคนั้นๆ จะช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดี 4 ขึ้น และอาจนำไปสู่คุณภาพในการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้นได้ โดยสำนักงานสถิติได้รายงานเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยใหม่ จากสถานบริการสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุขทั่วราชอาณาจักรพบว่า ตั้งแต่ปี 2548 ถึง ปี 2557 มีจำนวนผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นร้อยละ 58 โดยโรคที่เกี่ยวทางระบบทางเดือนหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด โรคที่เกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการและ เมตาบอลิซึมและระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง เป็น 4 กลุ่ม โรคที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีปัญหาสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการดูแล และสร้างเสริมสุขภาพของคนก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ช่วงสูงวัยหรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มสูงวัยแล้วให้มีพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง รวมถึงส่งเสริมสุขภาวะในกลุ่มผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจะช่วยลดผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขและสวัสดิการของรัฐ และอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของประเทศ “มวยไทย” เป็นการต่อสู้ในลักษณะมือเปล่าที่ใช้อวัยวะประจำร่างกายของมนุษย์ทั้งมือ เท้า เข่า ศอก ด้วยท่วงท่าลีลาที่มีลักษณะสวยงามและมีความแข็งแกร่งทั้งการรุกรับ การปกป้องตนเอง และการตอบโต้ เป็นศิลปะการต่อสู้ที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่มีคุณค่าและมีเอกลักษณ์ มวย ไทยได้รับการเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักและนิยมของชนชาติต่างๆ ปัจจุบันมีองค์กรในแต่ละชาติไม่ต่ำกว่า 135 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันท่ามวยไทยได้รับการรวบรวมและพัฒนาเป็นหลักสูตรมวยไทยที่มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับจากสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ มีการเผยแพร่ในรูปแบบสื่อดิจิตัล (iMAES หรือ iGLA Muaythai Animation Education System) ประกอบด้วยท่าเบื้องต้นจนถึงขั้นสูง (ขั้น 1-9) รวม 172 ท่า และขั้นสูงสำหรับผู้ฝึกสอน (ขั้น 10-15) นอกจากนี้ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลและการผลักดันของสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ (อิฟม่า) มวยไทยได้รับการบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในชนิด กีฬาโอลิมปิกเกมส์แล้วเมื่อปลายปี พ.ศ. 2559 การสร้างองค์ความรู้และเสริมทักษะการชกมวยไทยให้แก่คนไทยทุกเพศทุกวัยจึงมิเพียงแต่เป็นทางเลือกในการออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ทักษะการเคลื่อนไหวและทักษะกีฬา แต่มีคุณค่าในการสืบทอด ส่งเสริมวัฒนธรรมและความภูมิใจในความเป็นไทยของคนในประเทศอีกด้วย จากการวิจัยและงานที่กำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมให้คนในสังคมทุกช่วงวัย มีกิจกรรมทางสุขภาพที่เหมาะสมกับวัยด้วยรูปแบบการออกกำลังกายที่ถูกวิธีตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยเฉพาะรูปแบบการออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทย ที่มีเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยและคุณค่าของความเป็นไทย และการเสริมสร้างศักยภาพให้โรงเรียน ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมในการสนับสนุนส่งเสริม การออกกำลังกายและการเล่นกีฬาจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้คนทุกช่วงวัยสามารถรออกกำลังกายและเล่นกีฬาได้อย่างทั่วถึง ถูกต้องซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจากการที่คนมีสุขภาพสมบูรณ์ มีสุขภาวะที่ดี ลดการพึ่งพิงค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลของภาครัฐและการใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้การออกกำลังกายและการเล่นกีฬาดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนากีฬา เพื่อความเป็นเลิศและอาชีพของประเทศต่อไปอีกด้วย ในปัจจุบันได้มีการรวบรวมและเผยแพร่ท่าไม้มวย ไทย แต่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่เฉพาะเจาะจงและเหมาะสมกับกลุ่มวัยและวัตถุประสงค์ของการออกกำลังกาย ตลอดจนการศึกษาถึงผลของการออกกำลังกายด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพกายและใจ และสมรรถภาพร่างกายในกลุ่มวัยต่างๆ นั้น สิ่ง 5 สำคัญคือการต่อยอดในเชิงการตลาดและการพาณิชย์ ในการนำผลวิจัยมาประยุกต์กับระบบแอปลิเคชั่นสมัยใหม่ เช่นระบบแอนิเมชั่นท่ามวยไทย ระบบการเรียนมวยไทยด้วย AI ระบบแทรกติดตามอัตราการ เต้นหัวใจ Heart rate, Resting rate, Peak rate, Tracking ระบบ Self-training และระบบนิเวศน์ ดิจิทัล ในด้านต่างๆ อาทิ กระสอบทรายเซนเซอร์ นวม IOT เสื้อผ้ากีฬาติดตั้งระบบแทรกกิ้ง ระบบวัดความถูกต้องของท่วงท่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ การออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทยด้วยเออาร์ เป็นต้น ระบบต่างๆ เหล่านี้เป็นการต่อยอดนำงานวิจัยสู่กระบวนการสร้างสรรค์ทางดิจิทัล และสามารถนำไปทดลองใช้งาน ณ สถานที่ออกกำาลังกายต้นแบบในกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
โครงการที่ 1 การศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทยต่อสมรรถภาพและ สมรรถนะการทำงานของสมองในเด็กวัยเรียน (โครงการฯ เด็ก เฟส 2)
โครงการที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมและการศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยท่ามวย ไทยสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ
โครงการที่ 3 การต่อยอดเชิงพาณิชย์: การจัดทำต้นแบบยิมมวยไทยอัจฉริยะ (Commercial research on Muaythai exercise and prototype of Digital Genius Muaythai Gym) และการศึกษาผลตอบรับของการออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทย
โครงการที่ 4 การฝึกอบรมและส่งเสริมศักยภาพผู้ฝึกสอนการออกกำลังกายด้วยท่ามวย ไทย (มวยไทยฟิตเนส)
Link : MUSS SDGS
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : SIRIMONGKOL SWIMMING CLASS
ตัวชี้วัด : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs Goal)
เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย
ที่มาและความสำคัญ :
การว่ายน้ำถือเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญยิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรเรียนรู้เพื่อสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยทางน้ำให้กับชีวิตอีกทั้งการว่ายน้ำยังเป็นการออกกำลังกายที่สามารถใช้อวัยวะในการออกกำลังกายได้ทุกส่วนของร่างกาย ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานดีขึ้น ช่วยเผาผลาญไขมันลดน้ำหนัก ช่วยให้หัวใจแข็งแรง กระชับกล้ามเนื้อ การว่ายน้ำช่วย เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและแข็งแกร่ง ถนอมข้อต่อช่วยให้ร่างกายเกิดความยืดหยุ่นไล่ความเครียด
จากสถิติผู้ประสบอุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิต ของประเทศไทยอ้างอิงจากหนังสือแนวทางการป้องกันเด็กจมน้ำ ปีพ.ศ. 2558 (Drowning Prevention in Thailand) โดยนางสุชาดา เกิดมงคลการ และนางสาวส้มเอกเฉลิมเกียรติ จัดพิมพ์โดย สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีการสำรวจในปีพ.ศ. 2545-2557 พบว่า เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำมีอัตราที่สูง เฉลี่ยรวม 49,898 ราย เฉลี่ยรายปี มีจำนวน 4,157 คน ต่อปี ซึ่งจำนวนเด็กที่เสียชีวิตด้วยการจมน้ำ ใน 100,000 คน มีอัตราการจมน้ำเสียชีวิตราว 7-11 คน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก
สำนักงานสนับสนุนกิจกรรมกีฬาและการออกกำลังกาย จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้เด็ก เยาวชน และบุคคลทั่วไป ที่ว่ายน้ำไม่เป็นให้สามารถว่ายน้ำเป็นอย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล เพื่อสร้างเสริมความแข็งแรงของร่างกายพร้อมไปกับการเรียนรู้วิธีช่วยชีวิตคนการการจมน้ำซึ่งจะเกิดความปลอดภัยทั้งผู้ประสบเหตุและผู้ให้การช่วยเหลือ สำหรับการจัดโครงการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการสร้างเสริมสุขภาพ ตระหนักถึง ความสำคัญของการออกกำลังกาย ส่งผลให้ร่างกาย จิตใจ มีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างสมวัย
2.เพื่อเป็นโครงการเรียนรู้ ฝึกสอน เกี่ยวกับการเป็นครูสอนว่ายน้ำ สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
3.เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการฝึกว่ายน้ำที่ถูกต้องและเรียนรู้ทักษะกีฬาว่ายน้ำที่เหมาะสม รวมถึงสามารถช่วยเหลือตนเองจากการจมน้ำได้
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
เด็ก เยาวชนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จำนวน 185 คน ระยะเวลาโครงการดำเนินการตั้งแต่เดือน มกราคม - กรกฎาคม 2565 ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการฝึกว่ายน้ำที่ถูกต้องและเรียนรู้ทักษะกีฬาว่ายน้ำที่เหมาะสม รวมถึงสามารถช่วยเหลือตนเองจากการจมน้ำได้
Link : MUSS SDGS
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : ตรวจสุขภาพประจำปี 2565
ตัวชี้วัด : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs Goal)
เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย
ที่มาและความสำคัญ :
จากข้อมูลผลการตรวจสุขภาพบุคลากรของ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2563 พบว่าบุคลากรของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายคน ด้วยเหตุผลและข้อมูลดังกล่าวทําให้ วิทยาลัยฯเล็งเห็นความสําคัญของสุขภาพบุคลากรเพื่อการป้องกันและมุ่งเน้นให้บุคลากรฯตระหนักถึงภัยอันตรายจากโรคที่เกิดขึ้น จึงได้กําหนดให้มีการตรวจสุขภาพประจําปีแก่บุคลากร เพื่อดูแลสุขภาพของบุคลากรของวิทยาลัยฯ ให้มีสุขภาพที่ดีและเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานต่อไป
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
โครงการตรวจสุขภาพประจำปีงบประมาณ 2565 จัดขึ้น ใน วันศุกร์ ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ณ อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและสระว่ายน้ำ "สิริมงคล" วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ใบริการเจาะเลือด เก็บUrine / Stool ส่งตรวจ และ X-ray film Chest ตั้งแต่เวลา 07.00 – 11.00 น. โดยมีเจ้าหน้าที่จากคณะเทคนิคการแพทย์ฯอำนวยความสะดวก โดยมีบุคลากรเข้ารับบริการเป็นจำนวน 76 คน
Link : MUSS SDGS
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการแข่งขันวิ่ง “100 M. @ Salaya” ประจำปี 2565
ตัวชี้วัด : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs Goal)
เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย
ที่มาและความสำคัญ :
มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายในการพัฒนาด้านกีฬาเพื่อสุขภาพความเป็นเลิศในการแข่งขันกีฬา โดยมีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นศูนย์กลางภาคตะวันตกด้านกีฬาในระดับชาติและระดับภูมิภาค และมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อดำเนินการเรียนการสอน การให้บริการด้านกีฬาเพื่อสุขภาพ บริการวิชาการแก่นักเรียน นักศึกษา บุคลากร ส่วนงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยและบริการชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็นมาตรฐานครบวงจร โดยสนามกรีฑา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ก่อสร้างและเปิดให้บริการแก่นักเรียน นักศึกษา บุคลากร ชุมชนและสังคมมาตั้งแต่ พ.ศ.2535 เป็นต้นมา และเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มอบหมายให้วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา กำกับดูแลด้านการบริหารจัดการสนามกรีฑา
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เป็นหน่วยงานที่มุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์และศิลป์ อันเป็นวิทยาศาสตร์การกีฬามาอย่างต่อเนื่อง และด้วยความพร้อมของบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถการจัดการแข่งขัน และสนามกรีฑาที่ได้มาตรฐาน จึงกำหนดจัดโครงการแข่งขันวิ่ง “100 M. @ Salaya” ประจำปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป ตั้งแต่อายุต่ำกว่า 9-60 ปี ขึ้นไป มีการออกกำลังกายให้มากขึ้นและต่อเนื่อง ซึ่งนำไปสู่สุขภาวะที่ดีอย่างต่อเนื่อง
2. เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อต่างๆ
3. เพื่อรณรงค์สร้างกระแสการวิ่งเพื่อสุขภาพให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการออกกำลังกาย
4. เพื่อสร้างสังคมและเครือข่ายด้านการส่งเสริมสุขภาพ
5. เพื่อนำผลประเมินโครงการมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดงานวิจัยด้านการบริการสุขภาพ
6. เพื่อสร้างภาพลักษณ์ด้านการส่งเสริมสุขภาพให้กับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับ
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
จัดการแข่งขันในวันที่ 23 กรกฎาคม 2565 ณ สนามกรีฑา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ระยะทางวิ่ง 100 เมตร ประเภทชาย-หญิง จำนวน 13 รุ่นอายุ ดังนี้
1. อายุต่ำกว่า 9 ปี 7. อายุ 30-34 ปี
2. อายุ 9-12 ปี 8. อายุ 35-39 ปี
3. อายุ 13-16 ปี 9. อายุ 40-44 ปี
4. อายุ 17-19 ปี 10. อายุ 45-49 ปี
5. อายุ 20-24 ปี 11. อายุ 50-54 ปี
6. อายุ 25-29 ปี 12. อายุ 55-60 ปี
7. อายุ 60 ปีขึ้นไป
Link : MUSS SDGS