7. พลังงานสะอาดและจ่ายได้ 2565



7.4.1 Local community outreach for energy efficiency

ลำดับ

กิจกรรม

   
   
   

ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการการใช้พลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cells) ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล

ตัวชี้วัด : ป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs Goal) เป้าหมายที่ 7 สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา   

ที่มาและความสำคัญ :

    มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงได้กำหนดนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ.2573 โดยใช้แผน “9 to Zero” หรือ “ก้าวสู่ศูนย์” ซึ่งเป็นแผนของมหาวิทยาลัยมหิดลที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในมหาวิทยาลัยให้สุทธิเป็นศูนย์ภายใน 9 ปี ด้วย 9 หลักการ ดังนี้ การใช้พลังงานทดแทน การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การคมนาคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก การจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม งานวิจัยและเทคโนโลยีที่สนับสนุนการลดหรือดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การบริโภคผลิตภัณฑ์จากพืชเป็นพื้นฐาน ขยะสู่แหล่งฝังกลบเป็นศูนย์ และการพัฒนารูปแบบการติดตามการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งวันนี้มหาวิทยาลัยมหิดลได้เริ่มโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในระยะแรก ด้วยก้าวที่ 1 คือ การใช้พลังงานทดแทน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ตามนโยบายที่มหาวิทยาลัยได้ตั้งเป้าหมายไว้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำสัญญาข้อตกลงทำความร่วมมือกับ บริษัท เอสพีพี ซิค จำกัด เพื่อดำเนิน “โครงการพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์” โดยร่วมกันติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ขนาด 14 เมกกะวัตต์ ภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 10,487 ตันต่อปี หรือ 21% พร้อมทั้งวางแผนในการขยายพื้นที่ในการติดตั้ง Solar Rooftop ไปยังพื้นที่วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมหิดล ทุกคณะ/สถาบัน ถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ อีกทั้งยังเป็นการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยังยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติอีกด้วย

 รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :

             วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เป็นส่วนงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการติดตั้งระบบ Solar Rooftop บริเวณดาดฟ้าอาคารวิทยาลัยฯ ส่งผลให้ได้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของวิทยาลัยฯ ลดลงได้ตามเป้าหมายในภาพรวมของมหาวิทยาลัย

 

Link : MUSS SDGS

ภาพประกอบกิจกรรม :


ชื่อกิจกรรม/โครงการ : ประหยัดพลังงาน SS อย่างยั่งยืน

ตัวชี้วัด : ป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs Goal) เป้าหมายที่ 7 สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา   

ที่มาและความสำคัญ :

   ตามที่มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประกาศนโยบายอนุรักษ์พลังงานมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บุคลากรมหาวิทยาลัยทุกระดับชั้นมีส่วนร่วมในการจัดการพลังงานในส่วนงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน ดังนั้นเพื่อร่วมเป็นหนึ่งในการดำเนินงานตามนโยบายและตอบสนองต่อนโยบายอนุรักษ์พลังงานของมหาวิทยาลัยมหิดลและของรัฐบาล อีกทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่เกิดการดําเนินงานตามภารกิจด้านงานการเรียนการ สอน การวิจัย การบริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และงานบริหารจัดการ รวมทั้งการบริการศูนย์ วิทยาศาสตร์การกีฬาและสระว่ายน้ำ “สิริมงคล” งานบริหารและทรัพยากรบุคคล สำนักงานคณบดี ในฐานะหน่วยงานหลักในการกํากับดูแลและงานสนับสนุนภารกิจหลักของวิทยาลัยฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญ ความจำเป็นเร่งด่วนของการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน การจัดการด้านทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นส่วนหนึ่งการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวของมหาวิทยาลัย จึงกำหนดจัดทำโครงการ “SS ประหยัดพลังงานอย่างยั่งยืน” เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาของวิทยาลัยฯ มีจิตสํานึก และร่วมมือกันในการประหยัดพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า น้ำประปา น้ำมันเชื้อเพลิง และลดปริมาณ การใช้กระดาษอย่างจริงจัง และเห็นผลลัพธ์ให้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน

 รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :

            เพื่อเป็นการร่วมสร้างจิตสำนึกร่วมกันในการประหยัดพลังงานให้แก่บุคลากรในทุกหน่วยงานของวิทยาลัยฯ เป็นการประหยัดงบประมาณรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน และลดปริมาณการใช้พลังงานของวิทยาลัยฯ วิทยาลัยฯ จึงกำหนดมาตรการประหยัดพลังงาน และรณรงค์ให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการ ได้แก่ 1.การประหยัดพลังงานไฟฟ้า 2.การใช้ลิฟต์ 3.การใช้เครื่องใช้สำนักงานและอุปกรณ์ไฟฟ้า 4.การประหยัดน้ำ 5.การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง 6.การประหยัดกระดาษ

 

Link : MUSS SDGS

ภาพประกอบกิจกรรม :