4.3 Lifelong learning measures
ลำดับ |
กิจกรรม |
4.3.2 Public events (lifelong learning)
ลำดับ |
กิจกรรม |
4.3.3 Vocational training events (lifelong learning)
4.3.4 Educational out reach activities beyond campus
ลำดับ |
กิจกรรม |
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการ “Performance Enhancement Program”
ตัวชี้วัด : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs Goal) เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ที่มาและความสำคัญ :
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล มีปรัชญาสร้างองค์ความรู้และผลิตผลบนรากฐานของคุณภาพ คู่คุณธรรม เป็นผู้นำในการพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศและกีฬาเพื่อสุขภาพการส่งเสริม เผยแพร่ความรู้ และดำเนินการด้านการวิจัยและพัฒนาสมรรถภาพทางกายให้การกีฬาบรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์ ผลิตผู้นำทางด้านการศึกษาวิจัยและบุคลากรในสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อสนองตอบนโยบายของชาติ และตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้มีการสนับสนุนกีฬาของชาติในทุกๆ ด้านการจัดโครงการ "Performance Enhancement Program" ครั้งนี้ ต้องการให้เกิดองค์ความรู้ขั้นสูงในเชิงบูรณาการ จรรยาบรรณของนักวิทยาศาสตร์การกีฬา องค์ความรู้ด้านสรีรวิทยา โภชนาการ ชีวกลศาสตร์ จิตวิทยา และเวชศาสตร์การกีฬา ในบุคคลทั่วไปและนักกีฬา โดยการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปสู่การฝึกนักกีฬา การออกแบบโปรแกรมการฝึกเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและปรับสภาพร่างกายที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ในการเพิ่มขีดความสามารถของนักกีฬา รวมถึงสามารถให้คำ แนะนำเกี่ยวกับโภชนาการและการป้องกันการบาดเจ็บได้
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :เ
1. เพื่อพัฒนาผู้ฝึกสอนเฉพาะบุคคล นักวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ประจำทีมกีฬา และบุคคลทั่วไป ให้มีความองค์รู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ในการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาขั้นสูง
2. เพื่อพัฒนาผู้ฝึกสอนเฉพาะบุคคล นักวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ประจำทีมกีฬา และบุคคลทั่วไป สามารถนำความรู้ และประสบการณ์ไปออกแบบโปรแกรมการฝึกเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและปรับสภาพร่างกายที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยในการเพิ่มขีดความสามารถของนักกีฬา รวมถึงสามาถให้คำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการและการป้องกันการบาดเจ็บได้ นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาอย่างทั่วถึงอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน
Link : MUSS SDGS
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการอบรมออนไลน์ “การออกแบบโปรแกรมการฝึกแบบพลัยโอเมตริกสำหรับนักกีฬา”
ตัวชี้วัด : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs Goal) เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ที่มาและความสำคัญ :
การฝึกแบบพลัยโอเมตริก (Plyometrics) เป็นการฝึกเพื่อสร้างกำลัง (power) หรือแรงระเบิด (explosive power) ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากในหลายประเภทกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่เน้นในด้านการใช้กำลังของกล้ามเนื้อในการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวร่างกายปฏิบัติทักษะทางกีฬา อาทิเช่น การกระโดด การตบ การตี การเร่งความเร็วในการวิ่ง ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญในหลายๆ ชนิดกีฬา การฝึกแบบพลัยโอเมตริกนี้ อาศัยหลักการการทำงานของกล้ามเนื้อแบบ stretch-shortening cycle (SSC) ซึ่งในการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของทักษะกีฬานั้นสามารถแบ่งการทำงานของกล้ามเนื้อแบบ SSC ออกได้เป็น 2 ประเภท ตามระยะเวลาที่เท้าสัมผัสพื้น (ground contact time) การฝึกแบบพลัยโอเมตริกนี้ สามารถช่วยพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาได้ แต่การฝึกรูปแบบนี้นักกีฬาจะต้องผ่านการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (muscle strength) มาอย่างต่อเนื่องแล้วระยะหนึ่ง อีกทั้งยังต้องอาศัยการประสานสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (coordination) และทักษะ (skill) การเคลื่อนไหวที่ดีในการฝึกด้วย การออกแบบวางแผนโปรแกรมการฝึกซ้อมต้องคำนึงถึงหลายๆ ปัจจัย เช่น ความหนัก (intensity) ระยะเวลาฝึก (duration) ระยะเวลาพัก (rest) เป็นต้น เพื่อให้โปรแกรมการฝึกที่ออกแบบมานั้นที่ถูกต้อง เหมาะสมและเกิดการพัฒนากับนักกีฬาได้มากที่สุด เพราะไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่การบาดเจ็บของนักกีฬาขึ้นได้ ดังนั้นการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะที่ถูกต้องจึงมีความจำเป็นอย่างสูง
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา จึงกำหนดจัดโครงการอบรมออนไลน์ “การออกแบบโปรแกรมการฝึกแบบพลัยโอเมตริกสำหรับนักกีฬา” เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางด้านหลักวิทยาศาสตร์การในการฝึกพลัยโอเมตริกสำหรับนักกีฬา ให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ทักษะหรือเทคนิคต่างๆ ในการฝึกที่ถูกต้อง และสามารถวางแผนการออกแบบการฝึกซ้อมฝึกซ้อมแบบพลัยโอเมตริกได้อย่างถูกต้อง
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
ผู้เข้าอบรมประกอบด้วย นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ผู้ฝึกสอน อาจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและพลศึกษา นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ โดยการอบรมเป็นรูปแบบออนไลน์ผ่าน Google classroom ผู้เข้าอบรมจะได้รับ Certificate โดยต้องผ่านการประเมินผลตามหัวข้ออบรมและระยะเวลาที่กำหนด คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
Link : MUSS SDGS
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการอบรม Team Physician and Sports Science Course
ตัวชี้วัด : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs Goal)
เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย
เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ที่มาและความสำคัญ :
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กำหนดจัดโครงการอบรม Team Physician and Sports Science Course แก่แพทย์ นักกายภาพ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา หรือโค้ชที่สนใจด้านเวลศาสตร์การกีฬา เพื่อให้ความรู้สหสาขาที่ทันสมัยในการดูแลการบาดเจ็บ เจ็บป่วยแก่ผู้ออกกำลังกาย ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นโครงการแล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าใจการดูแลภาวะฉุกเฉิน สามารถลดความเสี่ยงการเกิดความพิการ และเสียชีวิต/เข้าใจ และจัดการนักกีฬาที่มีอาการบาดเจ็บหัวไหล่ สะโพก เข่า ข้อเท้า ได้ถูกต้อง เข้าในหลักการฝึกซ้อมกีฬา เข้าใจกระบวนการทางชีวกลศาสตร์ สรีรวิทยาและโภชนาการได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ อีกทั้งทำให้เกิดเครือข่ายต่อยอดความรู้ไปสู่การปฏิบัติ
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นรูปแบบการจัดการบรรยายให้ความรู้ ระหว่างวันที่ 11-12 มีนาคม 2565 ณ ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามมินทร์ ชั้น 7 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 203 คน
Link : MUSS SDGS
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการฝึกปฏิบัติการเป็นโค้ชวิ่ง “Running Coach workshop”
ตัวชี้วัด : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs Goal) เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย
ที่มาและความสำคัญ :
การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ เป็นกิจกรรมสำคัญที่ส่งเสริมให้คนมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ก่อให้เกิดพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าคนรุ่นใหม่นิยมออกกำลังกายมากขึ้น โดยเฉพาะการวิ่ง เช่น การวิ่งมาราธอน ซึ่งเป็นการวิ่งระยะทางไกลที่ต้องใช้ความอดทนอย่างสูง ความนิยมการวิ่งของคนไทยเป็นที่นิยมและแพร่หลายอย่างมาก โดยปัจจุบันมีสนามจัดแข่งทั้งในไทยและต่างประเทศให้เลือกร่วมรายการได้เกือบทุกสัปดาห์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำทางวิทยาศาสตร์การกีฬาในระดับนานาชาติและพันธกิจที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีแก่ประชาชนและการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ การจัดโครงการฝึกปฏิบัติการการเป็นโค้ชวิ่ง (Running Coach Workshop) เป็นโครงการหนึ่งที่เข้ามาช่วยในการพัฒนาและผลิตบุคลากรทางด้านการวิ่งให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญจนสามารถเป็นผู้ฝึกสอนหรือโค้ชวิ่งได้ หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ ผู้ที่รักและสนใจเกี่ยวกับการวิ่งเพื่อสุขภาพและการแข่งขัน ให้ได้รับความรู้อย่างถูกต้องในการการวิ่ง อาทิเช่น ทฤษฎีของการฝึก การวางแผนการฝึก การวิเคราะห์การเคลื่อนไหว ระบบพลังงาน และโภชนาการของการวิ่ง โดยมุ่งเน้นการเป็นผู้ฝึกสอน การออกแบบการฝึก การนำเสนอรูปแบบการวางแผนการฝึกซ้อม จากวิทยากรที่มีความรู้และเชี่ยวชาญระดับโลก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและฝึกทักษะให้ผู้รับการอบรมนำไปปฏิบัติได้จริง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมได้รับการพัฒนาศักยภาพในการเป็นผู้ฝึกสอนนักวิ่งได้อย่างมีคุณภาพ 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับองค์ความรู้และสามารถออกแบบโปรแกรมการฝึกวิ่งได้ 3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำองค์ความรู้/เทคนิคตลอดจน รูปแบบการฝึกที่ถูกต้องไปขยายผลเพื่อการพัฒนากีฬาวิ่งในสังคมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา จึงกำหนดจัดโครงการอบรมออนไลน์ “การออกแบบโปรแกรมการฝึกแบบพลัยโอเมตริกสำหรับนักกีฬา” เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางด้านหลักวิทยาศาสตร์การในการฝึกพลัยโอเมตริกสำหรับนักกีฬา ให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ทักษะหรือเทคนิคต่างๆ ในการฝึกที่ถูกต้อง และสามารถวางแผนการออกแบบการฝึกซ้อมฝึกซ้อมแบบพลัยโอเมตริกได้อย่างถูกต้อง
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
กำหนดจัดอบรม จำนวน 3 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 28 - 29 พฤษภาคม 2565 รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 18-19 มิถุนายน 2565 รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 23 – 24 กรกฎาคม 2565 ณ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล การประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นรูปแบบการจัดการบรรยายให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ (Lecture and Workshop) โดยมีโค้ชนักกีฬา ผู้ฝึกสอนนักกีฬา นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ทั้ง 3 รุ่น รวมจำนวน 81 คน
Link : MUSS SDGS
ภาพประกอบกิจกรรม : https://www.facebook.com/share/p/6dNoP2WfSZvWzjZc/