ปีงบประมาณ 2566
โครงการบริการวิชาการ ปีงบประมาณ 2566
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการประชุมวิชาการประจำปี ASSB (Asian Society of sport Biomechanics 2023) "The 9 th Asian Society of Sport Biomechanics" และ "The 2 and SAT International Conference on Sports Science"
ที่มาและความสำคัญ : วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายในการให้บริการวิชาการ แก่อาจารย์ นักศึกษา ประชาชน ชุมชนในประเทศ เพื่อเป็นการบริการวิชาการที่สร้างองค์ความรู้และเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ในศาสตร์วิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อให้บุคคลที่สนใจได้นำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์สูงสุด ผ่านการประชุมวิชาการระดับชาติ รวมทั้งเป็นเวที พบปะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ หรือแนวทางในการเผยแพร่องค์ความรู้ต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างเครือข่ายด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในระดับชาติ
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ : การประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ ภายใต้หัวข้อ “SPORT BIOMECHANICS : FROM RESEARCH TO THE FIELD” เพื่อสร้างเครือข่ายและเผยแพร่งานวิจัย ด้าน SPORT BIOMECHANICS โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ President of Asian Society of sport Biomechanics เป็นประธานในการจัดงาน ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม - 1 กันยายน 2566 ณ โรงแรม The Grand Fourwings Convention
LINK :
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ASCA
ที่มาและความสำคัญ : สมาคม Australian Strength and Conditioning Association (ASCA) เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง ที่เน้นในด้านการจัดอบรมและให้ความรู้ทางด้านการฝึกความแข็งแรงและการปรับสภาพร่างกาย (Strength and Conditioning) ในประเทศออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาวิชาชีพผู้ฝึกสอน (S&C coach) รวมถึงส่งเสริมการวิจัย สมาคม ASCA ได้จัดให้มีการฝึกอบรมด้าน Strength and Conditioning ที่เป็นมาตรฐานอยู่มากมายหลายหลักสูตร ซึ่งนอกจากการได้รับการรับรองจาก ASCA แล้ว ยังได้รับการรับรองจาก National Coaching Association Scheme (NCAS) วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เห็นถึงความสำคัญในการเพิ่มพูนความรู้ทางด้านนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและการฝึกสอนนักกีฬา เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้พื้นฐาน มีความเข้า่ใจและทักษะ รวมถึงสามารถประยุกต์และออกแบบโปรแกรมการฝึกทางด้านความแข็งแรงเพื่อพัฒนาความสามารถของนักกีฬา จึงได้ร่วมมือกับทางสมาคม Australian Strength and Conditioning Association (ASCA) เพื่อจัดอบรมครั้งนี้ขึ้น ซึ่งในการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับการฝึกปฏิบัติจริง และจะได้ใบประกาศนียบัตรของสมาคม ASCA และ (NCAS) เมื่อผ่านเกณฑ์ที่ทางสมาคมกำหนด โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับการฝึกที่มีมาตรฐานระดับสากล 2. เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการฝึกการออกกำลังกาย 3. เพื่อผลักดันให้เกิดเครือข่ายร่วมกันด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ : อบรมเชิงปฏิบัติการ ฝึกทดสอบออกแบบโปรแกรมการฝึกทางด้านความแข็งแรงเพื่อพัฒนาความสามารถของนักกีฬา จึงได้ร่วมมือกับทางสมาคม Australian Strength and Conditioning Association (ASCA) เพื่อจัดอบรมครั้งนี้ขึ้น ซึ่งในการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับการฝึกปฏิบัติจริง และจะได้ใบประกาศนียบัตรของสมาคม ASCA และ (NCAS) เมื่อผ่านเกณฑ์ที่ทางสมาคมกำหนด
LINK :
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : Team Physician and Sports Science Course
ที่มาและความสำคัญ : การดูแล รักษา และฟื้นฟู อาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา เป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาได้แก่ แพทย์ นักกายภาพบำบัด นักวิทยาศาสตร์การกีฬาที่เชี่ยวชาญด้าน Strength and Conditioning ด้านชีวกลศาสตร์ ด้านโภชนาการ และด้านจิตวิทยา ความเข้าใจถึงบทบาทของการทำงานสหวิชาชีพทางด้าน Sports Medicine มีความสำคัญมากที่จะช่วยส่งผลให้การดูแลนักกีฬา/ผู้ที่ออกกำลังกาย บรรลุผลสำเร็จ และกลับไปเล่นกีฬา ออกกำลังกาย ได้ตามเป้าหมาย หรือกลับเข้าสู่สนามแข่งขันได้อย่างปลอดภัยและสมรรถภาพกลับมาอย่างเต็มที่
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จึงได้ร่วมมือกันจัด โครงการอบรม Team Physician and Sports Science Course เพื่อบูรณาการความรู้ทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา จากสหวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์เฉพาะทาง นักกายภาพบำบัดทางการกีฬาและผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลฟื้นฟู นักวิทยาศาสตร์การกีฬา นักโภชนาการ ให้สามารถนำองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้จากการอบรมไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการในการดูแลรักษา คนไข้ นักกีฬา ต่อไป
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ : โครงการอบรม Team Physician and Sports Science Course เป็นความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จัดบรรยายในหัวข้อเรื่อง Bridging the Gap from Injury to Performance เพื่อให้ความรู้ แก่แพทย์ นักกายภาพ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา หรือโค้ชที่สนใจด้านเวชศาสตร์การกีฬา เพื่อให้เข้าใจการดูแลภาวะฉุกเฉิน สามารถลดความเสี่ยง การเกิดความพิการและเสียชีวิต เข้าใจวิธีการดูแล/จัดการนักกีฬาที่มาด้วยอาการบาดเจ็บได้ถูกต้อง นำไปสู่การป้องกันการบาดเจ็บ เข้าใจหลักการฝึกซ้อมกีฬา กระบวนการทาง ชีวกศาสตร์ สรีรวิทยา และโภชนาการ อีกทั้งทำให้เกิดเครือข่ายต่อยอดความรู้ไปสู่การปฏิบัติ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 -21 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามมินทร์ ชั้น 7 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย มหิดล มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 75 คน
LINK :
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : Swimming Instructor Course Level 1
ที่มาและความสำคัญ : วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์และศิลป์อันเป็นวิทยาศาสตร์การกีฬาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จึงกำหนดจัดโครงการอบรม “ผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำ” ระดับ 1 ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 6 – 10 มีนาคม 2565 รวมระยะเวลา 5 วัน ณ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยผู้ผ่านการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตร จำนวน 2 ฉบับ คือ ประกาศนียบัตรผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำ ระดับ 1 และประกาศนียบัตรการปฐมพยาบาลด้วยการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Cardiopulmonary resuscitation : CPR) โดยประกาศนียบัตรผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำ ระดับ 1 สามารถนำไปขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ฝึกสอนกีฬากับสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทยและการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ ทั้งนี้ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดลคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการอบรมนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเยาวชน ประชาชนทั่วไป และเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันและขับเคลื่อนให้เกิดการผลิตและพัฒนาครูสอนว่ายน้ำให้ได้รับการรับรองมาตรฐานวิชาชีพจากสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทยและการกีฬาแห่งประเทศไทยต่อไป
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
LINK :
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : MUSS Mini Marathon ครั้งที่ 7
ที่มาและความสำคัญ :
1.เพื่อร่วมแสดงพลังและระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์
2.เพื่อใช้ในกิจการของวิทยาลัยฯ เกิดประโยขน์กับวิทยาลัยด้านการบริการและกิจกรรมการเรียนการสอน
3.เพื่อให้นักศึกษา บุคลากร ประชาชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
การพัฒนาคุณภาพ และสังคม เป็นเรื่องที่สำคัญต่อประทศเป็นอย่างมาก การกีฬาเป็นส่วนหนึ่งจะช่วยการพัฒนาเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เพราะการเล่นกีฬาจะช่วยให้ผู้เล่นมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีจิตใจที่แจ่มใส และยังมีส่วนให้เกิดการเรียนรู้จากผลการแข่งขันประเภทต่างๆ คือ แพ้เป็นชนะเป็นอภัยเป็น ก่อให้เกิดความสามัคคี ดังนั้น ทุกส่วนงานควรมีการรณรงค์ และส่งเสริมให้นักศึกษาบุคลากรและชุมชนรอบสถานศึกษาได้เล่นกีฬา หรือ ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ได้กำหนดวิสัยทัศน์ ( Vision ) มุ่งมั่นที่จะเป็นหนึ่งในผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในระดับนานาชาติ และกำหนดพันธกิจ ( Mission ) เพื่อสร้างความเป็นเลิศด้านวิจัย และนวัตกรรมทางการ ผลิตบัณทิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีแก่ประชาและการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนในประเทศเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย และจิตใจ จึงได้จัดกิจกรรม โครงการ MUSS Mini Marathon ครั้งที่ 7 ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของตนเอง สังคม และประเทศชาติต่อไป
LINK :
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : MUSS Football Academy Family ปีที่3
ที่มาและความสำคัญ :
สำนักงานสนับสนุนกิจกรรมกีฬาและการออกกำลังกาย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการ กีฬาได้ร่วมมือ กับ หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต(การออกกำลังกายและกีฬา) วิชาเอกฟุตบอล จัดทำโครงการ MUSS Football Academy ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเฉลิมฉลองครบรอบ 36 ปี วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้เล่นฟุตบอลอย่างถูกต้องและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 ได้ดำเนินการเป็นปีที่ 3 ซึ่งนอกจากโครงการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมสุขภาวะที่ดีแก่เยาวชนแล้ว ยังเป็นโครงการบริการวิชาการที่บูรณาการด้านการศึกษา เพื่อนักศึกษาในหลักสูตร ศศ.บ (การออกกกำลังกายและการกีฬา) สาขาวิชาเอกฟุตบอล ได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในรูปแบบ In-house Training ในทักษะการฝึกสอนกีฬาการบริหารจัดการกีฬาฟุตบอล
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
รับสมัครเด็กๆ อายุ 6-12 ปี ที่สนใจกีฬาฟุตบอล เพื่อพัฒนาทักษะเทคนิคการเล่นฟุตบอลที่ถูกวิธีเรียนทุกวันเสาร์-อาทิตย์เวลา 16.00 - 18.00 น. เริ่มเรียน 7 ม.ค. -26 ก.พ.2566 นอกจากนี้เป็นเวทีในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ภายในมหาวิทยาลัย (In-house Training) ของนักศึกษาหลักสูตร ศศ.บ (การออกกกำลังกายและการกีฬา) สาขาวิชาเอกฟุตบอล
LINK :
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : ค่ายยุวชนรักกีฬาฤดูร้อน ครั้งที่ 23
ที่มาและความสำคัญ :
โครงการ ค่ายยุวชนรักกีฬาฤดูร้อน เป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่อง เป็นครั้งที่ 23 เพื่อให้ยุวชนได้รู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ยุวชนได้รับการฝึกว่ายน้ำที่ถูกต้องและเรียนรู้ทักษะกีฬาที่เหมาะสมกับวัยของยุวชนฯ เสริมสร้างบุคลิกภาพและการแสดงออกที่ดี พัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจด้วยกีฬา ตลอดจนเพื่อปูพื้นฐานการออกกำลังกายเพื่อนำไปสู่การเล่นกีฬาในอนาคต นอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังเป็นโครงการบริการวิชาการวที่บูรณาการร่วมกับพันธกิจการศึกษา โดยเป็นเวทีให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะทางวิชาชีพในการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาให้แก่เยาวชน
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
ด้วยสำนักงานสนับสนุนกิจกรรมกีฬาและการออกกำลังกาย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดจัดกิจกรรม” โครงการค่ายยุวชนรักกีฬาภาคฤดูร้อน ครั้งที่ 23 ประจำปี 2566 ” เริ่มระหว่างวันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2566 ถึง วันพุธที่ 5 เมษายน 2566 ( หยุดเฉพาะวันเสาร์, อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ) ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. โดยยุวชนได้รับการฝึกว่ายน้ำที่ถูกต้องและเรียนรู้ทักษะกีฬาได้แก่ ฟุตบอล, แบดมินตัน, เทควันโด, ยิมนาสติก
LINK :
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : SIRIMONGKOL SWIMMING CLASS
ที่มาและความสำคัญ :
สำนักงานสนับสนุนกิจกรรมกีฬาและการออกกำลังกาย จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการสร้างเสริมสุขภาพ ตระหนักถึง ความสำคัญของการออกกำลังกาย ส่งผลให้ร่างกาย จิตใจ มีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างสมวัย เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการฝึกว่ายน้ำที่ถูกต้องและเรียนรู้ทักษะกีฬาว่ายน้ำที่เหมาะสม รวมถึงสามารถช่วยเหลือตนเองจากการจมน้ำได้ และเพื่อเป็นโครงการเรียนรู้ ฝึกสอน เกี่ยวกับการเป็นครูสอนว่ายน้ำ สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
สอนการว่ายน้ำอย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล แก่เยาวชนตั้งแต่อายุ 5 ขวบขึ้นไปและประชาชนที่สนใจ จำนวน 10 ชั่วโมง เริ่ม 14 มกราคม 2566 เวลา 9.00 น.- 10.00 น.
LINK :
แบบฟอร์มสรุปโครงการที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด SDGs
ประจำปีงบประมาณ 2566
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โรงเรียนผู้สูงอายุเมืองพัทยาสร้างสุข รุ่น 1
ที่มาและความสำคัญ :
ผู้บริหารเมืองพัทยาให้ความสำคัญเรื่องการสร้างเสริมและพัฒนาภาวะพฤฒพลังและสุขภาพองค์รวมของผู้สูงอายุด้วยแนวคิด Integrated Care for Older People (ICOPE) หรือการบูรณาการการดูแลผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลก ซึ่งแนวคิดนี้เน้นการป้องกัน (Prevention) และสร้างเสริม (Promotion) “การดูแลสุขภาพตนเองของคนทุกคน” กอปรกับต้องการให้เกิดการมีส่วนร่วมการพัฒนาเมืองทุกด้านจากภาคส่วนต่างๆ ด้วยเหตุนี้ หัวหน้าโครงการฯ ซึ่งทำงานร่วมกับ ดร.ศิวัช บุญเกิด รองปลัดเมืองพัทยา (อดีตรองปลัดเทศบาลเมืองหัวหิน) จึงปรึกษาหารือผู้บริหารและกำหนดกรอบแนวคิดการทำโครงการด้วยการพยายามรวมภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ (เมืองพัทยา) ภาคประชาชน (ชาวบ้าน ผู้สูงอายุ อสม.) ภาควิชาการ (มหาวิทยาลัยมหิดล) และภาคเอกชน (บริษัท ห้างร้านต่างๆ) เข้ามาร่วมกันสร้างสรรค์เมืองพัทยาผ่านความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือจตุภาคี ทั้งนี้ หัวหน้าโครงการฯ และคณะทำงานส่วนหนึ่งมีประสบการณ์การทำงานกับ ดร.ศิวัช บุญเกิด และพอจะเข้าใจบริบทเมืองและท้องถิ่นระดับหนึ่งแล้ว จึงร่วมกันออกแบบหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเมืองพัทยาสร้างสุข รุ่น 1 ซึ่งผ่านการฟังเสียงความต้องการของผู้เกี่ยวข้องด้วยกระบวนการกลุ่ม (เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ไปทำ workshop ร่วมออกแบบหลักสูตรและเรียนรู้รูปแบบกิจกรรมและกระบวนการด้วยกระบวนการทางจิตตปัญญาศึกษา) แล้วจัดเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุเมืองพัทยาสร้างสุข รุ่น 1 ต่อไป ในภาควิชาการ วิทยากรกระบวนการ (Facilitator) โดยบุคลากรของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ซึ่งมีความรู้และเข้าใจเรื่องกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่เน้นการบรรยาย แต่ใช้กระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา ร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมตามหัวข้อต่างๆ และชาวบ้าน ได้แก่ ผู้นำกลุ่มกิจกรรมต่างๆ อสม. ชาวบ้านทั่วไป ในเมืองพัทยา จะได้ร่วมทำงานใหม่ๆ ร่วมกัน เรียนรู้และเติมโตภายในร่วมกัน เข้าใจบริบทของสังคมและชุมชนผู้สูงอายุมากขึ้น เข้าใจบริบทการพัฒนาท้องถิ่นโดยเฉพาะเมืองพัทยาซึ่งมีโจทย์ปัญหาที่ซับซ้อนและท้าทายมากมาย รวมถึงการเป็นวิทยากรกระบวนการมาจากหลากหลายสาขาและหน่วยงานก็ได้รู้จักกันมากขึ้น เรียนรู้ข้ามศาสตร์กันมากขึ้น โลกทัศน์กว้างขวาง โครงการนี้สามารถตอบโจทย์และตัวชี้วัดทั้งระดับส่วนงานและมหาวิทยาลัยเรื่องการสร้างสรรค์งานรับใช้สังคมได้
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
-
การอบรม อสม. โครงการสร้างเสริมสุขภาพ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative education) หรือการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative learning) ไม่ใช้ lecture-based แต่เน้น activity-based ด้วย active and participatory learning หัวข้อการเรียนรู้เรื่องสุขภาพ (Health) แบบองค์รวมที่ไม่ได้มุ่งเพียงสุขภาพร่างกาย แต่ครอบคลุมสุขภาพมิติอื่นประกอบด้วยสุขภาพจิต สุขภาพสังคม และสุขภาพปัญญา ทั้งนี้ แต่ละหัวข้อจึงไม่ได้เรียนรู้แบบแยกส่วนหรือผูกขาดเฉพาะเรื่อง แต่เรียนรู้ผ่านแนวคิด 3 ก. คือ เกม กิจกรรม กระบวนการ เช่น หัวข้ออาหารและโภชนาการจะเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการกินการอยู่ของคนในพื้นที่ เรียนรู้ผ่านกิจกรรมให้ผู้สูงอายุรวมกลุ่มทำอาหารท้องถิ่นตามเงื่อนไขด้านโภชนาการ แล้วนำอาหารมาจัดแสดงเพื่อให้คณะวิทยากรกระบวนการและผู้บริหารได้ชิมกัน แล้ววิทยากรกระบวนการเชื่อมโยงเรื่องอาหารการกินกับหลักการด้านโภชนาการเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) หัวข้อการเรียนรู้ ยกระดับและเชื่อมโยงการเรียนรู้เรื่องสุขภาพ (แนวคิด สุขภาพคือสภาวะแห่งความสุข = ความสุข) จึงประกอบด้วยเนื้อหาการเรียนรู้ที่หลากหลายและน่าสนใจ ทั้งยังเหมาะสมกับคนสูงวัยและสถานการณ์ปัจจุบันทั้งเรื่องการออกกำลังกาย อาหารการกิน การฟังอย่างลึกซึ้งและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีม สุขภาพจิตและการปรับตัว การใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปสร้างสรรค์และทำสติ๊กเกอร์ ภัยไซเบอร์ การกรอก google form กิจกรรมบำบัด ดนตรี จิตรศิลป์ รวมถึงการทำพินัยกรรมชีวิต (Living will) และการเตรียมตัวตายอย่างสงบเบื้องต้น (Palliative care) หัวข้อการเรียนรู้ประกอบด้วย
-
การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุ
-
สุนทรียสนทนาเพื่อการสื่อสารสุขภาพและการสร้างชุมชนการเรียนรู้
-
สูงวัยให้ขยับ: เคลื่อนไหวร่างกายให้สนุกและปลอดภัยด้วยกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย
-
สูงวัยไฮเทค: ไซเบอร์ในชีวิตประจำวันเพื่อสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม
-
สุขใจ วัยเก๋า 1: ดนตรีและศิลปะบำบัดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม
-
โภชนาการบูรณาการ: อาหารกาย อาหารใจ ภูมิปัญญาคนสูงวัย
-
สูงวัย ใจสู้: ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตเพื่อสร้างเสริมพลังกายใจ “อึด ฮึด สู้”
-
สูงวัย ไกลโรค: สุขภาพองค์รวมเพื่อป้องกันและบรรเทาโรคทางกาย โรคทางใจ
-
สุขใจ วัยเก๋า 2: ไม่ซึม ไม่เศร้า ไม่เหงา ด้วยกิจกรรมบำบัด
-
สูงวัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม: สิ่งแวดล้อมกับสุขภาพแบบองค์รวม
-
สูงวัย เตรียมเดินทางไกล ไร้กังวล 1: การดูแลแบบประคับประคองและการเผชิญความตาย
-
สูงวัย เตรียมเดินทางไกล ไร้กังวล 2: สมุดเบาใจและพินัยกรรมชีวิต
-
การอบรม สปสช. โครงการสร้างเสริมสุขภาพ
-
โครงการนวัตกรรมทางสังคมเพื่อความครอบคลุมทางสังคม “การพัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อร่วมสร้างเสริมภาวะพฤฒพลังและสุขภาพองค์รวมด้วยหุ้นส่วนความร่วมมือเครือข่ายจตุภาคี”
-
ดำเนินงานวิจัย “หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุกับการสร้างเสริมภาวะพฤฒพลัง (Active ageing) ของผู้สูงอายุไทย”
LINK :
แบบฟอร์มสรุปโครงการที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด SDGs
ประจำปีงบประมาณ 2566
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : In House Training : การทดสอบสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ
ที่มาและความสำคัญ :
การจัดการเรียนการสอนรูปแบบ In House Training เป็นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกกำลังกายและการกีฬา วิชาเอกการออกกำลังกายและการกีฬา และวิชาเอกกีฬาฟุตบอล การฝึกรูปแบบ In House Training จะมาช่วยพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ พร้อมที่จะออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการ และออกไปประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยได้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างฝ่ายการศึกษาก่อนปริญญา คลินิกการกีฬา หน่วยทดสอบสมรรถภาพทางกาย สำนักงานสนับสนุนกิจกรรมกีฬาเเละการออกกำลังกาย งานวิจัยและบริการวิชาการ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินภารกิจด้านการบริการ ภายในของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เพื่อยกระดับและเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับการเป็น In house training units อาทิ โครงการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ทักษะกีฬาแบดมินตัน เทนนิส และฟุตบอล โครงการปรับปรุงปรับปรุงรูปแบบการให้บริการคลินิกแบบบูรณาการการตรวจรักษาร่วมกับการฝึกร่างกายเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายและการประเมินสมรรถนะการทำงานของร่างกาย โครงการพัฒนารูปแบบการสอนออกกำลังกาย แบบ New Normal การสร้างสื่อการสอนออกกำลังกายแบบออนไลน์ และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย รูปแบบ In House Training ฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ด้วยการออกให้บริการทดสอบสมรรถภาพทางกาย เป็นการฝึกประสบการณ์ตรงในการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักศึกษา ทั้ง 2 หลักสูตร คือหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต รายวิชา วกกฬ 357 ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1 ประจำปีการศึกษา 2565 ช่วงเวลา เข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทุกกิจกรรมรวม 15 สัปดาห์ เพื่อให้บริการวิชาการทดสอบสมรรถภาพทางกายแก่ประชาชน และชุมชน ทุกกลุ่มช่วงวัย รวมทั้งผู้สูงอายุ ที่อยู่ใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัย บริการทดสอบ วินิจฉัย และแปรค่าเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกาย ค่าคะแนนที่ได้จากการทดสอบสมรรถภาพทางกาย นักศึกษาจะได้เรียนรู้ภายใต้การสอนและกำกับดูแลของคณาจารย์วิทยาลัยฯ นำมาเปรียบเทียบเพื่อประเมินถึงความก้าวหน้าทางด้านสมรรถภาพทางกาย ในเบื้องต้น แนะนำวิธีการออกกำลังกาย สาธิตท่าการออกกำลังกาย การพัฒนาของร่างกายในด้านต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล การฝึกประสบการณ์ตรงในการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักศึกษา นักศึกษาจะได้พัฒนาตนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของตนเองได้เมื่อสำเร็จการศึกษา
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
1. นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ลงชื่อเลือกกิจกรรมเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หมุนเวียนสลับตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกวิทยาลัยฯ ตามหน่วยงานที่วิทยาลัยฯ กำหนด
2. ออกให้บริการรูปแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย ตามแบบทดสอบสมรรถภาพต่างๆ ในภาคสนาม ให้แก่ชุมชนโดยรอบศาลายา ทุกกลุ่มช่วงวัย รวมทั้งผู้สูงอายุ ได้แก่
2.1 เทศบาลตำบลศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม
2.2 หมู่บ้านกฤษณาการ์เด้นโฮม ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม
2.3 หมู่บ้านกฤษดานคร แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
LINK :
ปีงบประมาณ 2565
โครงการบริการวิชาการ ปีงบประมาณ 2565
1. โครงการอบรม Team Physician and Sports Science Course 2565
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการอบรม Team Physician and Sports Science Course
ที่มาและความสำคัญ :
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กำหนดจัดโครงการอบรม Team Physician and Sports Science Course แก่แพทย์ นักกายภาพ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา หรือโค้ชที่สนใจด้านเวลศาสตร์การกีฬา เพื่อให้ความรู้สหสาขาที่ทันสมัยในการดูแลการบาดเจ็บ เจ็บป่วยแก่ผู้ออกกำลังกาย ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นโครงการแล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าใจการดูแลภาวะฉุกเฉิน สามารถลดความเสี่ยงการเกิดความพิการ และเสียชีวิต/เข้าใจ และจัดการนักกีฬาที่มีอาการบาดเจ็บหัวไหล่ สะโพก เข่า ข้อเท้า ได้ถูกต้อง เข้าในหลักการฝึกซ้อมกีฬา เข้าใจกระบวนการทางชีวกลศาสตร์ สรีรวิทยาและโภชนาการได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ อีกทั้งทำให้เกิดเครือข่ายต่อยอดความรู้ไปสู่การปฏิบัติ
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นรูปแบบการจัดการบรรยายให้ความรู้ ระหว่างวันที่ 11-12 มีนาคม 2565 ณ ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามมินทร์ ชั้น 7 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 203 คน
Link : MUSS SDGS
2. การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทยสู่การพัฒนาสุขภาวะคนไทยในเด็กและผู้ใหญ่ 2565
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทยสู่การพัฒนาสุขภาวะคนไทยในเด็กและผู้ใหญ่
ที่มาและความสำคัญ :
การขาดการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 70 ของ สาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด ในปี 2551 มีรายงานว่าประเทศไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการ 3 รักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงถึง 25,225 ล้านบาทต่อปี โดยที่ยังมิได้คิดรวมภาระทางเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ที่มีสาเหตุจากโรคดังกล่าว อาทิเช่น ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการขาดงาน การสูญเสียผลผลิต การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและค่าใช้จ่ายจากการที่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลหรือผู้อื่น องค์การอนามัยโลกและสถาบันเวชศาสตร์การกีฬาแห่งอเมริกาได้แนะนำระดับกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายที่เพียงพอสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 6-17 ปี ว่าควรมีการเคลื่อนไหวออกแรงระดับปานกลางถึงหนักอย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ส่วนผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ควรออกแรงระดับหนักเป็นเวลา 75 นาทีต่อสัปดาห์ และระดับปานกลางเป็นเวลา 150 นาทีต่อสัปดาห์ และลดพฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหวน้อยซี่งเป็นกิจกรรมที่มีการใช้พลังงานต่ำ (1-1.5 เท่าของการใช้พลังงานขณะพัก) ได้แก่ การนั่งๆ นอนๆ การใช้เวลาหน้าจอโทรศัพท์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่าการมีกิจกรรมทางกายรวมถึงการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอมีประโยชน์ ส่งผลให้คนมีสุขภาพและสุขภาวะและที่ดีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์และลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แต่ผลการสำรวจในอดีตจนถึงปัจจุบันกลับชี้ให้เห็นชัดเจนว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังขาดการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายที่เพียงพอ และมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มมากขึ้น โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจในปี พ.ศ.2558 และรายงานว่าประชากรไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีอัตราการทำงานออกแรงระดับหนักหรือปานกลางร้อยละ 37.2 และมีอัตราการเล่นกีฬา/ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมนันทนาการระดับหนักหรือปานกลางเพียงร้อยละ 23.7 นอกจากนี้จากการสำรวจเกี่ยวกับระดับกิจกรรมทางกายในคนไทย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2557 รายงานว่าคนไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปมีกิจกรรมทางกายเพียงพอร้อยละ 71.6 ส่วนการศึกษาในปี พ.ศ. 2558 โดย นุชราภรณ์และคณะ พบว่าประชากรไทยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีระดับกิจกรรมทางกายที่ เพียงพอเพียงร้อยละ 42.4 และร้อยละ 33.8 มีระดับกิจกรรมทางกายน้อย-เนือยนิ่งมาก สอดคล้องกับการ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสัดส่วนผู้ที่มีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุง คือจากร้อยละ 28.7 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 34.7 ในปี 2557 โดยอยู่เป็นลำดับที่สองในประเทศแถบภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติและกรมอนามัย รายงานว่าสถานการณ์ภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียนมีการเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.9 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 10.9 ในปี 2555 และร้อยละ 12.5 ในปี 2558 ปัญหาการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอและการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งในกลุ่มเด็กและเยาวชน รวมทั้งในกลุ่มผู้ใหญ่ต้องได้รับความสนใจเป็นพิเศษและแก้ไขให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลกระทบต่อสมรรถนะในการทำงานของคนในวัยทำงานอีกด้วย เนื่องจากในปัจจุบัน สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเป็นสังคมสูงวัย (Aging Society) และกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย อย่างสมบูรณ์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเมื่อสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ย่อมส่งผกระทบต่อเศรษฐกิจและ สังคมในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิเช่น ประชากรวัยทำงานจะต้องรับภาระที่มากขึ้นในการดูแลผู้สูงอายุ นอกจากนี้กลุ่มคนที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาการหรือกลุ่มโรคต่างๆ หาก มีกิจกรรมทางกายหรือมีการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมต่อกลุ่มโรคนั้นๆ จะช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดี 4 ขึ้น และอาจนำไปสู่คุณภาพในการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้นได้ โดยสำนักงานสถิติได้รายงานเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยใหม่ จากสถานบริการสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุขทั่วราชอาณาจักรพบว่า ตั้งแต่ปี 2548 ถึง ปี 2557 มีจำนวนผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นร้อยละ 58 โดยโรคที่เกี่ยวทางระบบทางเดือนหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด โรคที่เกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการและ เมตาบอลิซึมและระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง เป็น 4 กลุ่ม โรคที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีปัญหาสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการดูแล และสร้างเสริมสุขภาพของคนก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ช่วงสูงวัยหรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มสูงวัยแล้วให้มีพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง รวมถึงส่งเสริมสุขภาวะในกลุ่มผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจะช่วยลดผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขและสวัสดิการของรัฐ และอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของประเทศ “มวยไทย” เป็นการต่อสู้ในลักษณะมือเปล่าที่ใช้อวัยวะประจำร่างกายของมนุษย์ทั้งมือ เท้า เข่า ศอก ด้วยท่วงท่าลีลาที่มีลักษณะสวยงามและมีความแข็งแกร่งทั้งการรุกรับ การปกป้องตนเอง และการตอบโต้ เป็นศิลปะการต่อสู้ที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่มีคุณค่าและมีเอกลักษณ์ มวย ไทยได้รับการเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักและนิยมของชนชาติต่างๆ ปัจจุบันมีองค์กรในแต่ละชาติไม่ต่ำกว่า 135 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันท่ามวยไทยได้รับการรวบรวมและพัฒนาเป็นหลักสูตรมวยไทยที่มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับจากสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ มีการเผยแพร่ในรูปแบบสื่อดิจิตัล (iMAES หรือ iGLA Muaythai Animation Education System) ประกอบด้วยท่าเบื้องต้นจนถึงขั้นสูง (ขั้น 1-9) รวม 172 ท่า และขั้นสูงสำหรับผู้ฝึกสอน (ขั้น 10-15) นอกจากนี้ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลและการผลักดันของสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ (อิฟม่า) มวยไทยได้รับการบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในชนิด กีฬาโอลิมปิกเกมส์แล้วเมื่อปลายปี พ.ศ. 2559 การสร้างองค์ความรู้และเสริมทักษะการชกมวยไทยให้แก่คนไทยทุกเพศทุกวัยจึงมิเพียงแต่เป็นทางเลือกในการออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ทักษะการเคลื่อนไหวและทักษะกีฬา แต่มีคุณค่าในการสืบทอด ส่งเสริมวัฒนธรรมและความภูมิใจในความเป็นไทยของคนในประเทศอีกด้วย จากการวิจัยและงานที่กำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมให้คนในสังคมทุกช่วงวัย มีกิจกรรมทางสุขภาพที่เหมาะสมกับวัยด้วยรูปแบบการออกกำลังกายที่ถูกวิธีตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยเฉพาะรูปแบบการออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทย ที่มีเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยและคุณค่าของความเป็นไทย และการเสริมสร้างศักยภาพให้โรงเรียน ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมในการสนับสนุนส่งเสริม การออกกำลังกายและการเล่นกีฬาจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้คนทุกช่วงวัยสามารถรออกกำลังกายและเล่นกีฬาได้อย่างทั่วถึง ถูกต้องซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจากการที่คนมีสุขภาพสมบูรณ์ มีสุขภาวะที่ดี ลดการพึ่งพิงค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลของภาครัฐและการใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้การออกกำลังกายและการเล่นกีฬาดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนากีฬา เพื่อความเป็นเลิศและอาชีพของประเทศต่อไปอีกด้วย ในปัจจุบันได้มีการรวบรวมและเผยแพร่ท่าไม้มวย ไทย แต่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่เฉพาะเจาะจงและเหมาะสมกับกลุ่มวัยและวัตถุประสงค์ของการออกกำลังกาย ตลอดจนการศึกษาถึงผลของการออกกำลังกายด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพกายและใจ และสมรรถภาพร่างกายในกลุ่มวัยต่างๆ นั้น สิ่ง 5 สำคัญคือการต่อยอดในเชิงการตลาดและการพาณิชย์ ในการนำผลวิจัยมาประยุกต์กับระบบแอปลิเคชั่นสมัยใหม่ เช่นระบบแอนิเมชั่นท่ามวยไทย ระบบการเรียนมวยไทยด้วย AI ระบบแทรกติดตามอัตราการ เต้นหัวใจ Heart rate, Resting rate, Peak rate, Tracking ระบบ Self-training และระบบนิเวศน์ ดิจิทัล ในด้านต่างๆ อาทิ กระสอบทรายเซนเซอร์ นวม IOT เสื้อผ้ากีฬาติดตั้งระบบแทรกกิ้ง ระบบวัดความถูกต้องของท่วงท่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ การออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทยด้วยเออาร์ เป็นต้น ระบบต่างๆ เหล่านี้เป็นการต่อยอดนำงานวิจัยสู่กระบวนการสร้างสรรค์ทางดิจิทัล และสามารถนำไปทดลองใช้งาน ณ สถานที่ออกกำาลังกายต้นแบบในกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
โครงการที่ 1 การศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทยต่อสมรรถภาพและ สมรรถนะการทำงานของสมองในเด็กวัยเรียน (โครงการฯ เด็ก เฟส 2)
โครงการที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมและการศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยท่ามวย ไทยสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ
โครงการที่ 3 การต่อยอดเชิงพาณิชย์: การจัดทำต้นแบบยิมมวยไทยอัจฉริยะ (Commercial research on Muaythai exercise and prototype of Digital Genius Muaythai Gym) และการศึกษาผลตอบรับของการออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทย
โครงการที่ 4 การฝึกอบรมและส่งเสริมศักยภาพผู้ฝึกสอนการออกกำลังกายด้วยท่ามวย ไทย (มวยไทยฟิตเนส)
Link : MUSS SDGS
3. SIRIMONGKOL SWIMMING CLASS 2565
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : SIRIMONGKOL SWIMMING CLASS
ที่มาและความสำคัญ :
การว่ายน้ำถือเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญยิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรเรียนรู้เพื่อสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยทางน้ำให้กับชีวิตอีกทั้งการว่ายน้ำยังเป็นการออกกำลังกายที่สามารถใช้อวัยวะในการออกกำลังกายได้ทุกส่วนของร่างกาย ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานดีขึ้น ช่วยเผาผลาญไขมันลดน้ำหนัก ช่วยให้หัวใจแข็งแรง กระชับกล้ามเนื้อ การว่ายน้ำช่วย เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและแข็งแกร่ง ถนอมข้อต่อช่วยให้ร่างกายเกิดความยืดหยุ่นไล่ความเครียด
จากสถิติผู้ประสบอุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิต ของประเทศไทยอ้างอิงจากหนังสือแนวทางการป้องกันเด็กจมน้ำ ปีพ.ศ. 2558 (Drowning Prevention in Thailand) โดยนางสุชาดา เกิดมงคลการ และนางสาวส้มเอกเฉลิมเกียรติ จัดพิมพ์โดย สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีการสำรวจในปีพ.ศ. 2545-2557 พบว่า เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำมีอัตราที่สูง เฉลี่ยรวม 49,898 ราย เฉลี่ยรายปี มีจำนวน 4,157 คน ต่อปี ซึ่งจำนวนเด็กที่เสียชีวิตด้วยการจมน้ำ ใน 100,000 คน มีอัตราการจมน้ำเสียชีวิตราว 7-11 คน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก
สำนักงานสนับสนุนกิจกรรมกีฬาและการออกกำลังกาย จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้เด็ก เยาวชน และบุคคลทั่วไป ที่ว่ายน้ำไม่เป็นให้สามารถว่ายน้ำเป็นอย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล เพื่อสร้างเสริมความแข็งแรงของร่างกายพร้อมไปกับการเรียนรู้วิธีช่วยชีวิตคนการการจมน้ำซึ่งจะเกิดความปลอดภัยทั้งผู้ประสบเหตุและผู้ให้การช่วยเหลือ สำหรับการจัดโครงการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการสร้างเสริมสุขภาพ ตระหนักถึง ความสำคัญของการออกกำลังกาย ส่งผลให้ร่างกาย จิตใจ มีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างสมวัย
2.เพื่อเป็นโครงการเรียนรู้ ฝึกสอน เกี่ยวกับการเป็นครูสอนว่ายน้ำ สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
3.เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการฝึกว่ายน้ำที่ถูกต้องและเรียนรู้ทักษะกีฬาว่ายน้ำที่เหมาะสม รวมถึงสามารถช่วยเหลือตนเองจากการจมน้ำได้
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
เด็ก เยาวชนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จำนวน 185 คน ระยะเวลาโครงการดำเนินการตั้งแต่เดือน มกราคม - กรกฎาคม 2565 ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการฝึกว่ายน้ำที่ถูกต้องและเรียนรู้ทักษะกีฬาว่ายน้ำที่เหมาะสม รวมถึงสามารถช่วยเหลือตนเองจากการจมน้ำได้
Link : MUSS SDGS
4. โครงการแข่งขันวิ่ง “100 M. @ Salaya” ประจำปี 2565
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการแข่งขันวิ่ง “100 M. @ Salaya” ประจำปี 2565
ที่มาและความสำคัญ :
มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายในการพัฒนาด้านกีฬาเพื่อสุขภาพความเป็นเลิศในการแข่งขันกีฬา โดยมีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นศูนย์กลางภาคตะวันตกด้านกีฬาในระดับชาติและระดับภูมิภาค และมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อดำเนินการเรียนการสอน การให้บริการด้านกีฬาเพื่อสุขภาพ บริการวิชาการแก่นักเรียน นักศึกษา บุคลากร ส่วนงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยและบริการชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็นมาตรฐานครบวงจร โดยสนามกรีฑา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ก่อสร้างและเปิดให้บริการแก่นักเรียน นักศึกษา บุคลากร ชุมชนและสังคมมาตั้งแต่ พ.ศ.2535 เป็นต้นมา และเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มอบหมายให้วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา กำกับดูแลด้านการบริหารจัดการสนามกรีฑา
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เป็นหน่วยงานที่มุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์และศิลป์ อันเป็นวิทยาศาสตร์การกีฬามาอย่างต่อเนื่อง และด้วยความพร้อมของบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถการจัดการแข่งขัน และสนามกรีฑาที่ได้มาตรฐาน จึงกำหนดจัดโครงการแข่งขันวิ่ง “100 M. @ Salaya” ประจำปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป ตั้งแต่อายุต่ำกว่า 9-60 ปี ขึ้นไป มีการออกกำลังกายให้มากขึ้นและต่อเนื่อง ซึ่งนำไปสู่สุขภาวะที่ดีอย่างต่อเนื่อง
2. เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อต่างๆ
3. เพื่อรณรงค์สร้างกระแสการวิ่งเพื่อสุขภาพให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการออกกำลังกาย
4. เพื่อสร้างสังคมและเครือข่ายด้านการส่งเสริมสุขภาพ
5. เพื่อนำผลประเมินโครงการมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดงานวิจัยด้านการบริการสุขภาพ
6. เพื่อสร้างภาพลักษณ์ด้านการส่งเสริมสุขภาพให้กับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับ
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
จัดการแข่งขันในวันที่ 23 กรกฎาคม 2565 ณ สนามกรีฑา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ระยะทางวิ่ง 100 เมตร ประเภทชาย-หญิง จำนวน 13 รุ่นอายุ ดังนี้
1. อายุต่ำกว่า 9 ปี 7. อายุ 30-34 ปี
2. อายุ 9-12 ปี 8. อายุ 35-39 ปี
3. อายุ 13-16 ปี 9. อายุ 40-44 ปี
4. อายุ 17-19 ปี 10. อายุ 45-49 ปี
5. อายุ 20-24 ปี 11. อายุ 50-54 ปี
6. อายุ 25-29 ปี 12. อายุ 55-60 ปี
7. อายุ 60 ปีขึ้นไป
Link : MUSS SDGS</p
5. โครงการ “Performance Enhancement Program” 2565
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการ “Performance Enhancement Program”
ตัวชี้วัด : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs Goal) เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ที่มาและความสำคัญ :
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล มีปรัชญาสร้างองค์ความรู้และผลิตผลบนรากฐานของคุณภาพ คู่คุณธรรม เป็นผู้นำในการพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศและกีฬาเพื่อสุขภาพการส่งเสริม เผยแพร่ความรู้ และดำเนินการด้านการวิจัยและพัฒนาสมรรถภาพทางกายให้การกีฬาบรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์ ผลิตผู้นำทางด้านการศึกษาวิจัยและบุคลากรในสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อสนองตอบนโยบายของชาติ และตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้มีการสนับสนุนกีฬาของชาติในทุกๆ ด้านการจัดโครงการ "Performance Enhancement Program" ครั้งนี้ ต้องการให้เกิดองค์ความรู้ขั้นสูงในเชิงบูรณาการ จรรยาบรรณของนักวิทยาศาสตร์การกีฬา องค์ความรู้ด้านสรีรวิทยา โภชนาการ ชีวกลศาสตร์ จิตวิทยา และเวชศาสตร์การกีฬา ในบุคคลทั่วไปและนักกีฬา โดยการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปสู่การฝึกนักกีฬา การออกแบบโปรแกรมการฝึกเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและปรับสภาพร่างกายที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ในการเพิ่มขีดความสามารถของนักกีฬา รวมถึงสามารถให้คำ แนะนำเกี่ยวกับโภชนาการและการป้องกันการบาดเจ็บได้
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :เ
1. เพื่อพัฒนาผู้ฝึกสอนเฉพาะบุคคล นักวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ประจำทีมกีฬา และบุคคลทั่วไป ให้มีความองค์รู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ในการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาขั้นสูง
2. เพื่อพัฒนาผู้ฝึกสอนเฉพาะบุคคล นักวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ประจำทีมกีฬา และบุคคลทั่วไป สามารถนำความรู้ และประสบการณ์ไปออกแบบโปรแกรมการฝึกเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและปรับสภาพร่างกายที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยในการเพิ่มขีดความสามารถของนักกีฬา รวมถึงสามาถให้คำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการและการป้องกันการบาดเจ็บได้ นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาอย่างทั่วถึงอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน
Link : MUSS SDGS
6. โครงการอบรมออนไลน์ “การออกแบบโปรแกรมการฝึกแบบพลัยโอเมตริกสำหรับ นักกีฬา” 2565
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการอบรมออนไลน์ “การออกแบบโปรแกรมการฝึกแบบพลัยโอเมตริกสำหรับนักกีฬา”
ตัวชี้วัด : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs Goal) เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ที่มาและความสำคัญ :
การฝึกแบบพลัยโอเมตริก (Plyometrics) เป็นการฝึกเพื่อสร้างกำลัง (power) หรือแรงระเบิด (explosive power) ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากในหลายประเภทกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่เน้นในด้านการใช้กำลังของกล้ามเนื้อในการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวร่างกายปฏิบัติทักษะทางกีฬา อาทิเช่น การกระโดด การตบ การตี การเร่งความเร็วในการวิ่ง ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญในหลายๆ ชนิดกีฬา การฝึกแบบพลัยโอเมตริกนี้ อาศัยหลักการการทำงานของกล้ามเนื้อแบบ stretch-shortening cycle (SSC) ซึ่งในการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของทักษะกีฬานั้นสามารถแบ่งการทำงานของกล้ามเนื้อแบบ SSC ออกได้เป็น 2 ประเภท ตามระยะเวลาที่เท้าสัมผัสพื้น (ground contact time) การฝึกแบบพลัยโอเมตริกนี้ สามารถช่วยพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาได้ แต่การฝึกรูปแบบนี้นักกีฬาจะต้องผ่านการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (muscle strength) มาอย่างต่อเนื่องแล้วระยะหนึ่ง อีกทั้งยังต้องอาศัยการประสานสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (coordination) และทักษะ (skill) การเคลื่อนไหวที่ดีในการฝึกด้วย การออกแบบวางแผนโปรแกรมการฝึกซ้อมต้องคำนึงถึงหลายๆ ปัจจัย เช่น ความหนัก (intensity) ระยะเวลาฝึก (duration) ระยะเวลาพัก (rest) เป็นต้น เพื่อให้โปรแกรมการฝึกที่ออกแบบมานั้นที่ถูกต้อง เหมาะสมและเกิดการพัฒนากับนักกีฬาได้มากที่สุด เพราะไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่การบาดเจ็บของนักกีฬาขึ้นได้ ดังนั้นการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะที่ถูกต้องจึงมีความจำเป็นอย่างสูง
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา จึงกำหนดจัดโครงการอบรมออนไลน์ “การออกแบบโปรแกรมการฝึกแบบพลัยโอเมตริกสำหรับนักกีฬา” เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางด้านหลักวิทยาศาสตร์การในการฝึกพลัยโอเมตริกสำหรับนักกีฬา ให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ทักษะหรือเทคนิคต่างๆ ในการฝึกที่ถูกต้อง และสามารถวางแผนการออกแบบการฝึกซ้อมฝึกซ้อมแบบพลัยโอเมตริกได้อย่างถูกต้อง
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
ผู้เข้าอบรมประกอบด้วย นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ผู้ฝึกสอน อาจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและพลศึกษา นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ โดยการอบรมเป็นรูปแบบออนไลน์ผ่าน Google classroom ผู้เข้าอบรมจะได้รับ Certificate โดยต้องผ่านการประเมินผลตามหัวข้ออบรมและระยะเวลาที่กำหนด คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
Link : MUSS SDGS
7. โครงการฝึกปฏิบัติการเป็นโค้ชวิ่ง “Running Coach workshop” 2565
ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการฝึกปฏิบัติการเป็นโค้ชวิ่ง “Running Coach workshop”
ตัวชี้วัด : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs Goal) เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย
ที่มาและความสำคัญ :
การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ เป็นกิจกรรมสำคัญที่ส่งเสริมให้คนมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ก่อให้เกิดพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าคนรุ่นใหม่นิยมออกกำลังกายมากขึ้น โดยเฉพาะการวิ่ง เช่น การวิ่งมาราธอน ซึ่งเป็นการวิ่งระยะทางไกลที่ต้องใช้ความอดทนอย่างสูง ความนิยมการวิ่งของคนไทยเป็นที่นิยมและแพร่หลายอย่างมาก โดยปัจจุบันมีสนามจัดแข่งทั้งในไทยและต่างประเทศให้เลือกร่วมรายการได้เกือบทุกสัปดาห์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำทางวิทยาศาสตร์การกีฬาในระดับนานาชาติและพันธกิจที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีแก่ประชาชนและการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ การจัดโครงการฝึกปฏิบัติการการเป็นโค้ชวิ่ง (Running Coach Workshop) เป็นโครงการหนึ่งที่เข้ามาช่วยในการพัฒนาและผลิตบุคลากรทางด้านการวิ่งให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญจนสามารถเป็นผู้ฝึกสอนหรือโค้ชวิ่งได้ หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ ผู้ที่รักและสนใจเกี่ยวกับการวิ่งเพื่อสุขภาพและการแข่งขัน ให้ได้รับความรู้อย่างถูกต้องในการการวิ่ง อาทิเช่น ทฤษฎีของการฝึก การวางแผนการฝึก การวิเคราะห์การเคลื่อนไหว ระบบพลังงาน และโภชนาการของการวิ่ง โดยมุ่งเน้นการเป็นผู้ฝึกสอน การออกแบบการฝึก การนำเสนอรูปแบบการวางแผนการฝึกซ้อม จากวิทยากรที่มีความรู้และเชี่ยวชาญระดับโลก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและฝึกทักษะให้ผู้รับการอบรมนำไปปฏิบัติได้จริง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมได้รับการพัฒนาศักยภาพในการเป็นผู้ฝึกสอนนักวิ่งได้อย่างมีคุณภาพ 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับองค์ความรู้และสามารถออกแบบโปรแกรมการฝึกวิ่งได้ 3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำองค์ความรู้/เทคนิคตลอดจน รูปแบบการฝึกที่ถูกต้องไปขยายผลเพื่อการพัฒนากีฬาวิ่งในสังคมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา จึงกำหนดจัดโครงการอบรมออนไลน์ “การออกแบบโปรแกรมการฝึกแบบพลัยโอเมตริกสำหรับนักกีฬา” เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางด้านหลักวิทยาศาสตร์การในการฝึกพลัยโอเมตริกสำหรับนักกีฬา ให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ทักษะหรือเทคนิคต่างๆ ในการฝึกที่ถูกต้อง และสามารถวางแผนการออกแบบการฝึกซ้อมฝึกซ้อมแบบพลัยโอเมตริกได้อย่างถูกต้อง
รายละเอียดของกิจกรรม/โครงการ :
กำหนดจัดอบรม จำนวน 3 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 28 - 29 พฤษภาคม 2565 รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 18-19 มิถุนายน 2565 รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 23 – 24 กรกฎาคม 2565 ณ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล การประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นรูปแบบการจัดการบรรยายให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ (Lecture and Workshop) โดยมีโค้ชนักกีฬา ผู้ฝึกสอนนักกีฬา นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ทั้ง 3 รุ่น รวมจำนวน 81 คน
Link : MUSS SDGS
ภาพประกอบกิจกรรม :